ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • พัชรี รอดสั้น นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, ความพร้อมของบุคลากร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดนครนายก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ระหว่างเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2561 จากกลุ่มบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานวัยรุ่น จำนวน 240 คน จาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 46 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์และวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจิสติกแบบมีขั้นตอน

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.20 มีความพร้อมขององค์กรภาพรวมในระดับต่ำ ปัจจัยที่สามารถคาดทำนายโอกาสของความพร้อม ได้แก่ การได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานสาธารณสุขด้านงบประมาณ มีความพร้อมเป็น 4.59 เท่า (Adjusted OR = 4.592, 95% CI = 1.008-20.922 ) การรับรู้ต่อบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ มีความพร้อมเป็น 2.76 เท่า (Adjusted OR = 2.761, 95% CI = 1.276-5.973) และการดำเนินงานของสภาเด็กในชุมชนด้านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มีความพร้อมเป็น 3.02 เท่า (Adjusted OR = 3.021, 95% CI = 1.116-8.174 ) โดยปัจจัยทั้ง 3 ตัว สามารถร่วมกันทำนายความพร้อม ได้ร้อยละ 80.20

          ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรส่งเสริมให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านนี้ได้มีการรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนตามพระราชบัญญัติ ได้แก่ การสนับสนุน การประสานงานกับภาคีเครือข่าย รวมไปถึงการจัดสวัสดิการสังคมต่างๆ ให้แก่วัยรุ่น เพื่อช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพร้อมในด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นในอนาคต

References

กตัญญู แก้วหานาม. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล:ศึกษา เปรียบเทียบเทศบาลนครขอนแก่นกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 10(2), 39-65.

ดลฤดี เพชรขว้าง จรรยา แก้วใจบุญ เรณู บุญทา และกัลยา จันทร์สุข. (2554). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น ที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 13(1), 18-28.

ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ พิมลพรรณ เรพเพอร์ กฤษดา อัครพัทธยากุล วิระศักดิ์ ฮาดดา สุเมธ ทรงวัชราภรณ์ และวสุเชษฐ์ โสภนเสถียร. (2560). การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 71-82.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และชัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2556). ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สำนักงานราชกิจจานุเบกษา. (2559). พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2559, สืบค้นจาก https://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A1158/%A1158-20-2559-a0001.htm

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กและเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). การศึกษากระบวนการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบให้มีสมรรถนะสูงในการบริหารจัดการเครือข่ายระดับท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://dcy.go.th/webnew/upload/download/file_th_20152411002329_1.pdf

สำนักอนามัยการจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ท้องถิ่นเข้มแข็งเข้าใจวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์อนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557). สืบค้นจาก https://rhold.anamai.moph.go.th/home.html.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สิทธิโชค หายโสก อรนุช ภาชื่นและทัศนีย์ ศิลาวรรณ. (2559). มุมมองต่อหน้าที่และความพร้อมในการดำเนินงานด้านสุขภาพของบุคลากรเทศบาลตำบลจังหวัดพะเยา. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 34-41.

สุวิมล ติรกานนท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์:แนวทางสู่การปฏิบัติ.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2553). ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม: ศึกษาเฉพาะกรณีเขตควบคุมมลพิษในเขตปริมณฑ. สืบค้นจาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/9-1-1.pdf.

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2558). ความพร้อมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการด้านสุขภาพ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในประเทศไทย. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(1), 1-15.

Alwheeb, M. (2017). Assessing organizational readiness for the improvement and change initiatives in public hospitals. Management Issues in Healthcare, 3, 49-57.

Bloom, B.S., Hasting, J.T., Madaus, G.F. & Baldwin, T.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : Mcgraw - Hill Book Company.

Caldwell, D.F., Chatman, J., O'Reilly, C.A., Ormiston, M. & Lapiz, M. (2008). Implementing strategic change in a health care system: The importance of leadership and change readiness. Health Care Management REVIEW, 33(2), 124-133.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: basic concepts and methodology for the health sciences. (9th ed.). Massachusetts : John Wiley & Sons, Inc.

Eby, L.T. (2000). Perception of organizational readiness for change:Factors related to employees’ reactions to the implementation of team based selling [Electronic version]. Sage Journal, 53(3), 419-442.

Holt, D.T., Helfrich, C.D., Carmen, Hall, C.G., & Weiner, B.J. (2009). Are you ready how health professionals can comprehensively conceptualize readiness for change. Journal of General Internal Medicine, 25(1), 50-55.

Koontz, H. (1990). Principles of management. New York : McGraw-Hill Book Company.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company.

Ware, J.E. (1997). SF-36 health survey: manual and interpretation guide .Boston : New England Medical Center.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-04