ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความปวดและการฟื้นฟูสภาพ ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
คำสำคัญ:
การจัดการความปวด, การฟื้นฟูสภาพ, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความปวดและการฟื้นฟูสภาพต่อความปวด ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่า ความสามารถในการเดิน และความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มควบคุม 22 คน ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ และกลุ่มทดลอง 22 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดและการฟื้นฟูสภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ความเจ็บป่วย/การรักษา แบบบันทึกคะแนนความปวด ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่า ความสามารถในการเดิน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Independent t-test, Fisher Exact test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสามารถในการงอเข่าในวันที่ 3 หลังผ่าตัดของสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองมีความสามารถในการเดินดีกว่า และมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดมากกว่ากลุ่มควบควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาเสนอแนะให้มีการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการความปวดและการฟื้นฟูสภาพในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อลดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดและส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด
References
กลุ่มงานเวชระเบียนและสถิติ. (2562). จำนวนผ่าตัดใหญ่-เล็ก เฉลี่ย/วัน ปีงบประมาณ 2546-2561, สืบค้นจาก https://www.pranangklao.go.th/webpnk60/index.php/2546-2560.
ณัฐพล ธรรมโชติ. (2015). การควบคุมความเจ็บปวดในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. Thai Knee.com สืบค้นจาก http://www.thaiknee.com/home
รัตนา รัตนาธาร. (2551). Rehabilitation for knee arthroplasty. ใน อารี ตนาวลี (บ.ก.). ตำราศัลยศาสตร์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม (หน้า 93-99). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2554). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด Clinical Guidance for Acute Postoperative Pain Management. กรุงเทพมหานคร : ราชวิทยาลัย.
วัชรี วรากุลนุเคราะห์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, วิลาวัณย์ อาชวกุลเทพ, และลักษณา บุญประคอง. (2554). ประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาล, 29(3), 74-82.
วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์. (2556). การระงับปวดหลังผ่าตัด. ใน อังกาบ ปราการรัตน์, วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, ศิริลักษณ์ สุขสมปอง, และปฏิภาณ ตุ่มทอง (บ.ก.). ตำราวิสัญญีวิทยา (หน้า 781-808). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ เอ-พลัส พริ้น.
วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. (2556). การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและการรักษาภาวะแทรกซ้อน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท โฮลิสติกพับลิชชิ่ง จำกัด.
สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป, วิภา แซ่เซี้ย, และเนตรนภา คู่พันธวี. (2555). ผลของการจัดการความปวดแบบประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการพยาบาล, 27(3), 77-90.
สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee). สืบค้นจาก http://www.thairheumatology.org
สามารถ ม่วงศิริ, และธนา ธุระเจน. (2551). Evaluation of painful TKA. ใน อารี ตนาวลี (บ.ก.). ตำราศัลยศาสตร์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม (หน้า 391-399). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส. เอเชียเพลส (1989) จำกัด.
American Association of Hip and Knee Surgeons [AAHKS]. (2015). Total Knee Replacement. Retrieved from http://www.aahks.org/care-for-hips-and-knees/do-i-need-a-joint-replacement /total-knee-replacement
Beswick, A. D., Wylde, V., Gooberman-Hill, R. (2014). Interventions for the prediction and management of chronic postsurgical pain after total knee replacement: systematic review of randomized controlled trials. BMJ Open 2015;5:e007387. doi:10.1136/bmjopen-2014-007387. Retrieved from http://bmjopen.bmj.com
Chan, E.Y., Blyth, F.M., Nairn, L., Fransen, M. (2013). Acute postoperative pain following hospital discharge after total knee arthroplasty. OARSI. 21, 1257-63.
Dalury, D. F., Lieberman, J. R. and Macdonald, S. J., (2011). Current and innovative pain management technique in total knee arthroplasty. An instructional course lectures, The American Academy of Orthopaedic Surgeons (AAOS). JBJS. 93 (20), 1937-43.
Farahini, H., Moghtadaei, M., Bagheri, A., Akbarian, E. (2012). Factors influencing range of motion after total knee arthroplasty. Iran Red Crescent Med J, 14(7), 417–21.
Foran, J. R. H. (2015). Total knee replacement. American Academy of Orthopaedic Surgeons AAOS.org. Retrieved from https://orthoinfo.org/topic.cfm?topic=a00389.
Frisch, N. (2017). Range of motion (ROM) after knee replacement surgery: The basic. Retrieved from http://www.peerwell.com
Gandhi, K. & Viscusi, M. E. (2009). Multimodal pain management technique in hip and knee arthroplasty. The Journal of NYSORA. 13, 1-8.
Holmes-Walker, S. (2011). PCA (Patient controlled analgesia): Controlling pain after surgery. The Regents of the University of Michigan. Retrieved from https://www.med.umich.edu, Anesthesiology.
Korean Knee Society. (2012). Guidelines for the management of postoperative pain after total knee arthroplasty. Knee Surg Relat Res. 24 (4), 201-7. Retrieved from PubMed PMCID: PMC3526756.
Norwood, S.L. (2000). Research strategies for advanced practice nurse. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Phillips, S., Gift, M., Gelot, S., Duong, M. & Tapp, H. (2013). Assessing the relationship between the level of pain control and patient satisfaction. J Pain Res, 6, 683-9.
Scuderi, G. R., Bourne, R. B., Noble, P. C., Benjamin, J. B., Lonner, J. H., Scott, W. N. (2012). The New Knee Society Knee Scoring System. Clin Orthop Relat Res, 470(1), 3–19.
Sun, X.L., Zhao, ZH., Ma, J.X., Li, F.B., Li, Y.J., Meng, X.M., et al. (2015). Continuous local infiltration analgesia for pain control after total knee arthroplasty: Systematic review and meta-analysis. MedicineJournal, 94(45), 1-9.
Tungtrongjit, Y., Weingkum, P., & Saunkool, P. (2012). The effect of preoperative quadriceps exercise on functional outcome after total knee arthroplasty. J Med Assoc Thai. 95(10), 58-66.
Wang, L., Lee, M., Zhang, Z., Moodie, J., Cheng, D. & Martin, J. (2015). Dose preoperative rehabilitation for patients planning to undergo joint replacement surgery improve outcomes? A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. BMJ Open. 6, 1-15. doi:10.1136/bmjopen-2015-009857.