แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลาด “ซา-สุขใจ” วิถีไทย-มอญ ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • โสภณ แดงมาศ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยว, ศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, วิถีไทย-มอญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาด “ซา-สุขใจ” วิถีไทย-มอญ 2) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวตลาด “ซา-สุขใจ” วิถีไทย-มอญ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาด “ซา-สุขใจ” วิถีไทย-มอญตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิทยาแบบผสมผสานเก็บข้อมูลจากการสำรวจชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมกลุ่มย่อย และการทำแบบประเมินศักยภาพชุมชน กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน คณะกรรมการและสมาชิกตลาด ตัวแทนประชาชน ตัวแทนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน จำนวน 50 คน และการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 310 คน โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนดอนกระเบื้องมีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาด “ซา-สุขใจ” วิถีไทย-มอญโดยภาพรวมในระดับมาก โดยด้านศิลปวัฒนธรรมมีศักยภาพสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการรักษาคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านการบริหารการจัดการ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวตลาด “ซา-สุขใจ” วิถีไทย-มอญส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนและซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน เดินทางมาด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับเพื่อนและครอบครัว มีความสนใจกิจกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิต และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาด “ซา-สุขใจ” วิถีไทย-มอญ พบว่า ชุมชนควรมีการสำรวจและรวบรวมประวัติความเป็นมาวัฒนธรรมที่โดดเด่น วิถีชีวิต ภูมิปัญญา บุคคลสำคัญ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย-มอญให้กับคนในชุมชนทุกระดับ และเสริมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559).ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.สืบค้นจากhttps://www.culture.go.th/culture_th/main.php?filename=index

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศ.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.(2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

คณะกรรมการตลาด“ซาสุขใจ” วิถีไทย-มอญ. (2561). รายงานผลการดำเนินงานตลาด“ซาสุขใจ” วิถีไทย-มอญ. ราชบุรี: ตลาด“ซาสุขใจ” วิถีไทย-มอญ. ราชบุรี : ปปท.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด อังสุมาลิน จำนงชอบ ณัฏฐพัชร มณีโรจน์ และวุฒิพงษ์ ทองก้อน. (2561). รูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(4), 548-560.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์พริ้นท์.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน.กรุงเทพฯ:โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

รัตนากร จุฑามณี และคณะ. (2546). การศึกษาการจัดการตลาดน้ำวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สถาบันราชภัฏนครปฐม.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2543).รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี 2561-2564. ราชบุรี. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง.

อภิเดช ช่างชัย. (2561). ศักยภาพการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน:กรณีศึกษาชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 3053-3067.

อมรรัตน์ วงศ์เป็ง. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ. สืบค้นจาก https://www.bus. rmutt.ac.th/news-admin/file/93.pdf

อารีย์ นัยพินิจ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 7(1), 1-12.

Best, J.W. (1993). Research in Education. Boston, M.A. : Allyn and Bacon.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-07