คุณภาพการให้บริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐที่มีผลต่อความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ฝากครรภ์, หญิงตั้งครรภ์, ความพึงพอใจ, คุณภาพการให้บริการบทคัดย่อ
การวิจัยคุณภาพการให้บริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐที่มีผลต่อความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดชลบุรี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการฝากครรภ์มีผลต่อความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดชลบุรี
ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดชลบุรีจำนวน 8,400 คน โดยใช้สูตร Taro Yamane ใช้วิธีภาคตัดขวาง ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 382 คน เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีประสบการณ์ในการมาใช้บริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดชลบุรี เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามคุณภาพการให้บริการที่ผ่านการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาร์คได้ค่าเท่ากับ 0.898 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์หาค่า t-test ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยภาพรวมพบว่า ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพที่แตกต่างมีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการฝากครรภ์แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการฝากครรภ์ได้แก่ ด้านความเชี่ยวชาญของแพทย์ ด้านความเอาใจใส่ ด้านมาตรฐานงานบริการฝากครรภ์ และด้านความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดชลบุรี
References
ไชยชนะ จันทรอารีย์, มาเรียม นะมิ และอัมพล ชูสนุก. (2558). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไวเนื้อเชื่อใจการบอกต่อและการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2) : 25-39.
พิกุล รัตถาพิมพ์,ชื่นจิตร โพธิ์ศัพท์สุข และมุกดา หนุ่ยศรี. (2556). คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 1(5), 1-12.
พูลสุข นิลกิจศรานนท์. (2541). ธุรกิจโรงแรมเอกชน. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2561-2563, (1), 1-10.
ภัทรีญา นามเจริญ. (2557). การเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของผู้มารับบริการที่มีต่อคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
เรณู ศรีสุข. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพนัสนิคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี
โรงพยาบาลชลบุรี. (2562). ผลการดำเนินงานโรงพยาบาลชลบุรี 2562, สืบค้นจาก https://bie.moph.go.th/e-insreport/file_province/6-9-1-2019-01-16-03-25-03.pdf
วิภาวี ชาดิษฐ์. (2559). ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพบริการแผนกจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สรานันท์ อนุชน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 159-169.
สุกัญญา มีสามเสน วรุณี เชาว์สุขุม และบุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2556). คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์, 7(1), 35-47
สิริกาญจน์ กมลปิยะพัฒน์. (2558). ศึกษาการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานจังหวัดชลบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี 4 ปี (2561-2564) ฉบับ พ.ศ. 2561, สืบค้นจาก www.chonburi.go.th
สำนักงานสถิติ จังหวัดชลบุรี. (2561). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี 2560, สืบค้นจาก chonburi.nhso.go.th
โสภิตา ขันแก้ว. (2546). การศึกษาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลชุมชนภาคเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
โสรัจจะราช เถระพันธ์. (2561). คุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์อนามัยที่ 6 จังหวัดชลบุรี.(2560). รายงานการฝากครรภ์ พ.ศ. 2557- 2560. (พิมพ์ครั้งที่1) กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ศศิธร เลิศล้ำ. (2550). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
Ching – Sheng Chang, Su – Yueh Chen and Yi – Ting Lan. (2556). Service quality, trust, and patient satisfaction in interpersonal – based medicalservice encounters .Journal BMC Health service Research, 13(1), 1-11.