โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุเมฆ สมาหิโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลพุทธบูรณาการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร

บทคัดย่อ

        การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสอดคล้องปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรต่อข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้าราชการประจำ (ท้องถิ่น) ฝ่ายบริหารท้องถิ่น ฝ่ายนิติบัญญัติท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง จำนวน 550 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.80 Student Edition ในการพัฒนา และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

        ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุประกอบด้วย การบริหารจัดการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วม และอิทธิบาท 4 ของประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 204.64 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 179 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.092 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.062 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.016 อธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร ได้ร้อยละ 89.00 เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมผ่านด้านอิทธิบาท 4 พบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยเชิงสาเหตุ อิทธิบาท 4 และการบริหารจัดการ เท่ากับ 0.85 และ 0.12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ และอิทธิพลทางอ้อมจากการมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการ ผ่านอิทธิบาท 4 เท่ากับ 0.38 และ 0.31 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ  ผลจากการวิจัยที่ได้รับครั้งนี้ ในเชิงนโยบายสามารถนำไปใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเป็นรูปธรรม เชิงวิชาการสามารถนำไปใช้เป็นกรณีตัวอย่างเพื่อการเรียนการสอน หรือการสร้างสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ในการบูรณาการแนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และเชิงพื้นที่สามารถนำไปทดลองใช้ เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร หรือปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกันสืบไป

References

กมลลักษณ์ ยินดียม. (2556). ประสิทธิผลการบริหารองค์การตามหลักการบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 4 (1), 106.

ชุมชนคนท้องถิ่น. (2561). แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ เพื่อเสนอขอรับเงินรางวัลประจำปีสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สืบค้นจาก http://www.thailocalmeet. com/index.php?topic=66581.0.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). วิจัยและสถิติ: คำถามชวนตอบ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา สุวรรณภูมิ. (2554). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 ประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 16(3), 106.

พลภัทร ช่างสากล. (2558). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วิมล ชาตะมีนา และคณะ. (2551). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.

สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2557). สถิติวิเคราะห์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons. Inc.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.

Rovinelli, R.J. & Hambleton, R.K. (1977). On the Use Content Specialiats in the Assessment of Criterin Reference Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, (2), 49-60.

Tumuhimbise Manasseh. (2015). Heightening Leadership Effectiveness in Local Governments of Uganda: ‘Challenge the Process’ for Organisational Support. International Journal of African Renaissance Studies-Multi, Inter and Transdisciplinarity, 1(2), 143-155.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-26