ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความผูกพันของพนักงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

ผู้แต่ง

  • กำพล พาหิระ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง, ความผูกพันของพนักงาน, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความผูกพันของพนักงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กลุ่มประชากรเป็นพนักงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 1,983 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 322 คน เก็บรวบรวมข้อมูล เดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2561 เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ประกอบไปด้วยสามส่วน ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (2) ทรัพยากรในงาน และ (3) ความผูกพันของพนักงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96, 0.83 และ 0.92 ตามลำดับ และได้วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยด้วยสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

         ผลการวิจัย พบว่า ทรัพยากรในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันของพนักงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูงสุด (β=.32, <.01) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลโดยตรง (β=.22, p<.001) และโดยอ้อมผ่านทรัพยากรในงานต่อความผูกพันของพนักงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความผูกพันของพนักงานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (P-value =.058, Chi-Square=53.727, df=39, CMIN/df =1.378, GFI = 0.973, AGFI = 0.945,CFI=0.996, RMSEA =0.034) จากข้อค้นพบการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าควรพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรในงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะส่งผลในทางบวกต่อความผูกพันของพนักงาน

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. รายงานประจำปี. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=165&Itemid=146

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2558). การตอบกลับรายงานผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2558.

Bakker, A. B., Demerouti, E., Taris, T. W., Schaufeli, W. B., & Schreurs, P. J. (2003). A multigroup analysis of the job demands-resources model in four home care organizations. International Journal of stress management, 10(1), 16.

Bakker, A. B., Hakanen, J. J., Demerouti, E., & Xanthopoulou, D. (2007). Job resources boost work engagement, particularly when job demands are high. Journal of educational psychology, 99(2), 274.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organization effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks: Sage.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1997). Full range leadership development: Manual for the multifactor leadership questionnaire. Palo Alto, Calif: Mind Garden.

Behling, O. & Law, K.S. (2000). Translating questionnaires and other research instruments: problems and solution. London: Sage Publications.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. A global perspective. (7thed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Schaufeli, W. B. (2015). Engaging leadership in the job demands-resources model. Career Development International, 20(5), 446-463.

Schaufeli, W. B., Bakker, A. B., & Salanova, M. (2006). The measurement of work engagement with a short questionnaire: A cross-national study. Educational and psychological measurement, 66(4), 701-716.

Schaufeli, W. B., Salanova, M., González-Romá, V., & Bakker, A. B. (2002). The measurement of engagement and burnout: A two sample confirmatory factor analytic approach. Journal of Happiness studies, 3(1), 71-92.

Veldhoven, M. V., Jonge, J. D., Broersen, S., Kompier, M., & Meijman, T. (2002). Specific relationships between psychosocial job conditions and job-related stress: A three-level analytic approach. Work & Stress, 16(3), 207-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03