การจัดสรรต้นทุนสิ่งแวดล้อมไปยังต้นทุนผลิตภัณฑ์
คำสำคัญ:
ต้นทุนสิ่งแวดล้อม, ต้นทุนฐานกิจกรรม, การปันส่วนต้นทุน, ต้นทุนผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
ในปัจจุบันประเด็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจจากผู้มีส่วนได้เสียในสังคมค่อนข้างสูง ดังนั้นต้นทุนสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นต้นทุนที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อกระบวนการบริหารงานของกิจการ โดยปกติในระบบบัญชีต้นทุน กิจการส่วนใหญ่จะบันทึกต้นทุนสิ่งแวดล้อมรวมอยู่ภายใต้บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต และวิธีการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตไปยังผลิตภัณฑ์และการคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์มี 2 วิธี คือ วิธีต้นทุนแบบเดิมและวิธีต้นทุนฐานกิจกรรม ในสภาพแวดล้อมที่มีเทคโนโลยีและการแข่งขันสูงผนวกกับประเด็นอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้นทุนสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนกลยุทธ์ และการบริหารต้นทุน วิธีการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตไปยังผลิตภัณฑ์ตามวิธีต้นทุนแบบเดิมอาจจะไม่เหมาะสมกับกิจการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว วิธีต้นทุนฐานกิจกรรมจึงเป็นทางเลือกใหม่และเป็นเครื่องมือที่มีสมรรถภาพที่จะช่วยให้กิจการที่มีต้นทุนในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญสามารถคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์และหน่วยต้นทุนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริหารทั้งในเรื่องการบริหารต้นทุน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้กิจการมีความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
References
ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 86-89.
วิภาดา ศุภรพันธ์. (2548). จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ ABC ในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ดีหรือไม่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 1(2), 93-105.
วิริยา จงรักษ์สัตย์. (2561). การเปิดเผยข้อมูลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามกรอบการจัดทำรายงานของ GRI: กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มดัชนีเซท 100. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(17), 1-22.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). การบัญชีสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาชีพบัญชี, 5(12), 21-24.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชา สัมนาการบัญชีการเงินและสัมนาการบัญชีบริหาร (การบัญชีเพื่อการบริหารสิ่งแวดล้อม). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2560). การบัญชีตามความรับผิดชอบต่อสังคม. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 6(1), 25-32.
สมบูรณ์ สารพัด. (2561). เปรียบเทียบการคิดต้นทุนแบบดั้งเดิมและต้นทุนกิจกรรม. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(2), 61-67.
สิรินาฎ นาคเลิศ และมัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2559). อิทธพลของการกำกับดูแลกิจการต่อการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(149), 1-37.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก www.nesdb.go.th/ewt_dl_link. php?nid=6422
Gale, R. (2006). Environmental costs at a Canadian paper mill: a case of Environmental Management Accounting. Journal of Cleaner Production, (14), 1237-1251.
Hansen, D.R. & Mowen, M.M. (2013). Conerstones of cost management. (2nd ed). Canada : South-Western Cengage.
Kreuze, J.G. & Newell, G.E. (1994). ABC and life-cycle costing for environmental expenditures: the combination gives companies a more accurate snapshot. Management Accounting, 75(8), 186-208.
Rakos, l.S. & Antohe, A. (2014). Environmental cost- An Environment management accounting component. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 4(4), 166-175.
Tsai, W., Lin, T. W. & Chou, W. (2010). Integrating activity-based costing and environmental cost accounting systems: a case study. International Journal of Business and Systems Research, 4(2), 186-208.
White, A. & Savage, D. (1995). Budgeting for environmental projects: a survey. Management Accounting, 77(4), 48-54.