ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบ จากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลตติยภูมิในจังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, หลอดเลือดดำอักเสบ, นอร์อีพิเนฟริน

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน เปรียบเทียบอุบัติการณ์หลอดเลือดดำอักเสบ ในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯชุดเดิมกับกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบ และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ ชุดที่พัฒนาขึ้นในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม ตามรูปแบบ ไอโอวา โมเดล (Titler, et al., 2001) เก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินที่เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม จำนวน 60 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  สถิติออด เรโช (Odd ratio) และสถิติ ที (Independent T-test)

          ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาล ที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 18 ข้อ อุบัติการณ์หลอดเลือดดำอักเสบเกิดในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 2.25 เท่า (OR= 2.25, 95%CI 0.51-9.99) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับความรุนแรงการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p >.05) พยาบาลวิชาชีพประเมินว่าความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติชุดนี้ ร้อยละ 100 โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 61.88 แนวปฏิบัติการพยาบาลชุดนี้สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินเป็นมาตรการที่ดีในการปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังยาความเสี่ยงสูงในหอผู้ป่วยหนัก เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดีต่อผู้ป่วยและเพิ่มคุณภาพการดูแลของพยาบาลวิชาชีพได้เป็นอย่างดี

References

คณะกรรมการเภสัชกรรม และ การบำบัด โรงพยาบาลศิริราช. (2560). คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง. สืบค้นจากhttp://www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/03_36_363_HAD 17052560.pdf.

จันทร์เพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล และ รุ่งตะวัน สุภาพพล. (2015). Application of aloe vera on wound healing. Journal of Medicine and Health Science. 22(3). 53-67.

ช่อทิพย์ คชเสนีย์. (2543). ผลของเจลว่านหางจระเข้ เรพาริลเจล ต่อการเกิดภาวะหลอดโลหิตดำอักเสบส่วนปลายในคนไข้ที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2557). ผลของการใช้แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Extravasation ต่อภาวะ Extravasation. โครงงานวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ. สืบค้นจาก http://www.hospital. tu.ac.th/km/admin/new/180418_130856.pdf.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2559). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับภาวะ Extravasation. วารสารสภาการพยาบาล. 31(2). 81-95.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2560). การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำจากการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 37(2). 169-181.

ณิชาภา หน่อตุ้ยและคณะ. (2553). ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำต่ออุบัติการณ์หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ. สืบค้นจาก https://www.cmneuro.go.th/TH/load/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/r52-33.pdf

ทิฎฐิ ศรีวิสัยและวิมล อ่อนเส็ง. (2560). ภาวะช็อคจากการติดเชื้อ ความท้าทายของพยาบาลห้องฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 9(2). 152-162.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. Education and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบและระยะเวลาการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีดที่มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อหลอดเลือดดำ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม. เอกสารประกอบการประชุมมหกรรมคุณภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า 2561. ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียรและคณะ. (2557). การส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. พยาบาลสาร. 41. 71-81.

วิภา หาปู่ทน. (2556). การสร้างแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น. สืบค้นจาก http://203.157.71.148/information/center/research58/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%9915%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%20%E0%B8%81%E0%B8%81.pdf

ศากุล ช่างไม้. (2549). การประเมินแนวปฏิบัติเพื่อใช้ในการวิจัยและการประเมินผล. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน. 12(1). 15-24.

ศิริรัตน์ วีรกิตติและคณะ. (2553). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะ. วารสารกองการพยาบาล 37(1). 51-65.

อุสาห์ รุจิระวิโรจน์และคณะ. (2551). การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 14(1). 14-27.

Maddox, RR., & Rugh., D.R.. (1977). Double blind study to investigate methods to prevent cephalothin-induced phlebitis. American Journal of Hospital Pharmacy. 34(1), 29-34.

Titler, et al., (2001). The Iowa Model of evidence -based practice to promote quality of care. Critical Care Nursing Clinics of North America. 13(4), 497-509.

Yulu., G., et al. (2016). Meta-Analysis of Aloe vera For the prevention and treatment of chemotherapy- induced phlebitis. International Journal of Clinical Medicine. 9(6), 9642-9650.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-26