ผลของการใช้โปรแกรมดนตรีคลาสสิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ของนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
โปรแกรมดนตรีคลาสสิก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ขลุ่ยรีคอร์เดอร์บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผลของการใช้โปรแกรมดนตรีคลาสสิกพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์โดยการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเป่าขลุ่ยฯ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ก่อนและหลังใช้โปรแกรมดนตรีคลาสสิก ประชากรเป็นนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาพื้นฐานดนตรีสากลในภาคการศึกษาที่หนึ่งของปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นแบบสอบถามลักษณะประชากร ส่วนที่สองเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเป่าขลุ่ยฯ ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและเชิงโครงสร้างแล้วโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้โปรแกรมดนตรีคลาสสิกช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และ 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ของการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังการใช้โปรแกรมดนตรีคลาสสิก สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเข้าโปรแกรม (t = -18.575, p < 0.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะคือ การเพิ่มผลสัมฤทธิ์รายวิชาอื่นๆ สามารถใช้โปรแกรมดนตรีคลาสสิกทั้งของโมสาร์ท และของนักประพันธ์เพลงอื่นๆ ตลอดจนการใช้โปรแกรมดนตรีไทยเดิมบรรเลงได้
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐกาญจน์ อนันทราวัน. (2550). ผลของการเรียนการสอนศิลปะโดยใช้ดนตรีคลาสสิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนศิลปะของนักเรียนช่วงอายุ 9-11 ปี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ณัฐสินี ภาณุศานต์. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจจากการเรียนการสอนออนไลน์ในเวลาเดียวกัน วิชาพื้นฐานศิลปะ เรื่องทักษะการบรรเลงดนตรี ประเภทขลุ่ยรีคอร์เดอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี
นัทธี เชียงชะนา. (2550). การสังเคราะห์วิจัยทางดนตรีศึกษา: การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วิไลพร ภูมิเขตร์. (2560). การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยใช้กระบวนการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
Falcetta, D. E. (2014). The effect of background music on second-grade children’s rhythmic and tonal pattern recognition (Doctoral dissertation). Doctor of Musical Arts, College of Fine Arts, Boston University.
Larson, Danelle D. (2010). The effect of chamber music experience on music performance achievement, motivation, and attitude among high school band students (Doctoral dissertation). Doctor of Musical Arts, Arizona State University.
Rauscher, F., Shaw, G. and Ky, C. (1993). Music and spatial task performance. Nature. 365 (6447): 611. doi:10.1038/365611a0.
Taylor, J.M. & Rowe, B. J. (2012). The “Mozart Effect” and the Mathematical Connection. Journal of College Reading and Learning, 42(2), 51-66. doi: 10.1080/10790195.2012. 10850354.
Waterhouse, Lynn. (2006). Multiple Intelligences, the Mozart Effect, and Emotional Intelligence: A Critical Review. Educational Psychologist, 41(4), 207-225.