รูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ความสำเร็จ, การท่องเชิงนิเวศ, การท่องเที่ยวยั่งยืน, ชุมชนบางกระเจ้า, จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ (2) เพื่อศึกษารูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการการท่องเชิงนิเวศ  อย่างยั่งยืน ของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 25 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม

          ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีศักยภาพของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สถานีเพาะชำกล้าไม้ คลองบางกระเจ้า พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ฟาร์มเห็ดหลากสี สวนป่าทรงคะนอง ม.1-2 สวนป่าลำพู (บางกระสอบ) แหล่งชมหิ่งห้อย สวนป่าบางน้ำผึ้ง ม.4, ม.7 ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง (2) ผลการวิเคราะห์ศักยภาพในพื้นที่ พบว่า พื้นที่มีศักยภาพและโอกาสที่ดีทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นประตูสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีการผลิตสินค้าชองชุมชนเพื่อการจำหน่ายอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ มีระบบการคมนาคมขนส่งทางบก เช่น ถนนกาญจนาภิเษก สะพานภูมิพล ส่วนการคมนาคมทางน้ำ มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน สามารถเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคต่างๆ อีกทั้ง อยู่ใกล้การขนส่งทางอากาศ (ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น ประเพณีแห่หงษ์ - ธงตะขาบ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีที่คนรู้จักทั้งในและนอกประเทศ  และมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ หรือที่เรียกว่าปอดกรุงเทพฯ (3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบที่ส่งผลต่อ ความสำเร็จของการจัดการการท่องเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน  ของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ความได้เปรียบของความสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรแห่งคุ้งบางกระจ้า  เป็นส่วนสนับสนุน 2 รูปแบบสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการ  การท่องเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ของชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ (1) การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (2) การจัดการท่องเที่ยวยั่งยืน ในจังหวัดสมุทรปราการ มีความเหมาะสม สามารถจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยเน้นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลูกจิตสำนึกผ่านกิจกรรมที่สามารถ  สร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่นักท่องเที่ยว ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

References

กรมการท่องเที่ยว. (2559). สถิตินักท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559. จาก http://www.tourism.go.th/home/details/11/221/24710.

จิรา บัวทอง. (2557). ดัชนีชี้วัดของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559. จาก: https://www.etatjournal.com.

นงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์ สังข์รักษา. (2556). การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหัว เขาจีนจังหวัดราชบุรี. สงขลา: วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 24(2), 143-156

นิศา ชัชกุล. (2555). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: มายด์กราฟิค.

วรรณพร วณิชชานุกร. (2541). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:สถาบันราชภัฏสวนดุสิต

สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2548). เอกสารประกอบการสอน วิชาการวางแผนการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศูนย์วิจัยด้านการตลาดการท่องเที่ยว. (2559). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2559. จาก: www.marketingdatabase.tat.or.th/main.php?filename=index.

ศูนย์วิจัยป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2542). แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบชุมชนมีส่วนร่วมบริเวณเขานอจู้จี้ จังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศรีณัฐ ไทรชมภู. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).

Cohen, (1979). A Phenomenology of Tourist Experiences. Sociological Review, 13(2), 179-201.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Dickman. (1996). Tourism: An Introductory Text. 2nd ed. Sydney: Hodder Education.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. S. 1997. Research in Education: A Conceptual Introduction. New York: Longman.

UNWTO. 2004. Global Code of Ethics for Tourism. [Online] . Retrieved April 11 2015, From: http://ethics.unwto.org/en/content/global-code-ethics-tourism.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31