การประเมินคุณภาพฟอนต์แห่งชาติด้วยวิธีการกระพริบภาพเร็ว
คำสำคัญ:
ฟอนต์, การฉายภาพเร็ว, ความชัดเจนของตัวอักษร, ทฤษฎีความคุ้นเคยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและประเมินคุณภาพ 13 ฟอนต์แห่งชาติโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงประจักษ์ในการตรวจสอบคุณภาพโดยนำไปใช้ประโยชน์ต่อการประเมินมาตรฐานและเป็นแนวทางในพัฒนาฟอนต์ไทย มีการสุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 403 คน อายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18-22 ปี โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยนี้มี 2 ชนิดคือแบบสอบถามความคิดเห็นและไฟล์ SWF ซึ่งใช้ในการฉายภาพเร็วบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพทางการมองเห็นของตัวอักษร เครื่องมือทั้งสองได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ซึ่งแบบสอบถามนั้นใช้การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ส่วนเครื่องมือในการฉายภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาสื่อ ได้ทดสอบเครื่องมือวิจัยทั้งสองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คนและวัดความคงเส้นคงวาภายในก่อนนำเครื่องมือมาใช้งานจริง การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบบสอบถามมาตรวัดลิเคิร์ท 5 ระดับนั้นใช้สถิติเชิงบรรยายเพื่อหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนในการทดสอบด้วยการกระพริบภาพเร็วเพื่อทดสอบว่าความแตกต่างของฟอนต์มีผลต่อความถูกต้องในการระบุตัวอักษรหรือไม่นั้นใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ซึ่งจากการทดสอบพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในการระบุตัวอักษรระหว่างกลุ่มฟอนต์ทั้ง 13 แบบในภาพรวม ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธสมมุติฐานที่ว่ารูปแบบตัวอักษรที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการระบุตัวอักษรที่ถูกต้อง จากผลเปรียบเทียบรูปแบบทั้ง 13 พบว่ารูปแบบหลักมีสองแนวทางคือ แบบตัวพิมพ์ และ แบบลายมือ ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก แต่ไม่พบความแตกต่างในการระบุอักษรระหว่างฟอนต์อย่างชัดเจนดั่งที่ทฤษฎีความคุ้นเคยได้อธิบายว่ามนุษย์สามารถรับรู้เชิงมิติได้ดีต่อรูปแบบตัวอักษรที่คุ้นเคยแม้จะมีความซับซ้อนมากก็ตาม
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วุฒิชัย มณีอินทร์. (2556). การศึกษารูปแบบและขนาดตัวพิมพ์ที่มีผลต่อระยะการมองเห็นข้อความบนฉากรับภาพ สื่อดิจิทัล; กรณีศึกษา : เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 16(1), 153-175.
Beier, S. (2009). Typeface legibility: towards defining familiarity. (Doctoral dissertation), The Royal College of Art. Retrieved from http://researchonline.rca.ac.uk/id/eprint/957.
Beier, S. (2012). Reading letters, designing for legibility. Amsterdam, Netherlands: BIS.
Cattell, J. (1886). The time taken up by cerebral operations. Mind, 11, (277-282), 524-538.
Chahine, N. (2012). Reading Arabic : legibility studies for the Arabic script. (Doctoral dissertation), Leiden University. Retrieved from https://openaccess.leidenuniv.nl/handle/1887/20022.
Cochran, W. G. (2006). Sampling techniques. New York, USA: J. Wiley. (Original work published 1963)
Licko, Z. (1990). Interviews with Zuzana Licko from http://emigre.com/Licko3.php.
Loxley, S. (2006). Type: The secret history of letters. London, UK: Tauris.
Lund, O. (1999). Knowledge construction in typography : the case of legibility research and the legibility of sans serif typefaces. (Doctoral dissertation), University of Reading. Retrieved from http://ethos.bl.uk/OrderDetails.do?uin=uk.bl.ethos.301973.
Pyke, R. L. (1926). Report on the Legibility of Print: H.M. Stationery Office.
Tillotson, G., & Burt, C. (1959). A Psychological Study of Typography. British Journal of Educational Studies, 8(1), 76. doi: 10.2307/3119343.
Tinker, M. A. (1963). Legibility of print. Ames, IA: The Iowa State University Press.
Wendt, D. (1970). By what criteria are we to judge legibility? . Paper presented at the The 11th congress of the Association Typographique Internationale.