บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความกรุณาต่อตนเองของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุปราณี แตงวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ, ความกรุณาต่อตนเอง, นักศึกษาพยาบาล, มหาวิทยาลัยเอกชน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของนักศึกษาพยาบาล  ศึกษาความกรุณาต่อตนเองของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาอำนาจทำนายบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อความกรุณาต่อตนเองของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาพยาบาล มหาหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 200 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง  แบบสอบถามบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ  และแบบสอบถามความกรุณาต่อตนเอง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์  โดยวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อหาอำนาจทำนายบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อความกรุณาต่อตนเองของนักศึกษาพยาบาล  ผลการวิจัยพบว่าบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ  และความกรุณาต่อตนเองของนักศึกษาพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และอำนาจทำนายบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อความกรุณาต่อตนเองของนักศึกษาพยาบาล  องค์ประกอบของบุคลิกภาพ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว บุคลิกภาพแบบแสดงตัว และบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก  สามารถร่วมทำนายความกรุณาต่อตนเองของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 43.30 นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  จากผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้สถานศึกษาที่ผลิตพยาบาลให้ความสนใจและแสวงหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงให้นักศึกษาพยาบาลซึ่งจะต้องออกไปประกอบวิชาชีพพยาบาลมีบุคลิกภาพที่สอดคล้องและสนับสนุนต่อการพัฒนาตนเองและการดูแลผู้ป่วยต่อไป

References

จิดาภา เรือนใจมั่น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. Proceeding การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558: Diversity in Health and Well-Being

จิตรา ดุษฎีเมธา. (2558). ความกรุณาต่อตนเอง: ทางเลือกใหม่เพื่อสร้างความสมดุลความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Compassion: The Alternative for Balancing Self-Esteem). วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 5(1), 25-38.

นิภาพร พวงมี. (2554). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

พรพรรณ อนุมาศ .(2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ บรรยากาศองค์การกับความสำเร็จในวิชาชีพการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

มณี อาภานันทิกุล และคณะ (2557). จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลไทยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 29(2) 5-20.

วัชราวดี บุญสร้างสม. (2556). ความสัมพันธ์ ระหว่างการรับรู้ความเครียดและความสุขในนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ ประณีต ส่งวัฒนา วรรณี เดียวอิศเรศ วารุณี ฟองแก้ว และสมพร รุ่งเรืองกลกิจ. (2554). วิชาชีพการพยาบาล: ความหมายเชิงเพศภาวะ. วารสารสภาการพยาบาล, 26(2),26-41.

สิกานต์ เอี่ยวเล็ก. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การสนับสนุนจากองค์การกับความผูกพันในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). โครงการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2557-2560. สืบค้นจาก http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program23.jsp? top_serl=99307592&key

อรุณรัตน์ คันธา. (2558). ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. J Nurs Sci, 32(1), 81-90.

เอื้อมพร ทองกระจาย. (2557). พฤติกรรมสุขภาพ สุขภาวะเชิงอัตวิสัยและตัวชี้วัดทางคลินิกที่คัดสรรในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 37(1), 94-102.

Costa. Jr. P. and Widiger, T.A. (2002). Personality Disorder and The Five-Factor Model of Personality. (2ed.). Washington. DC: American Psychological Association.

Neff, K. D., Kirkpatrick, K. L., & Rude, S. S. (2007a). An examination of self-compassion in relation to positive psychological functioning and personality traits. Journal of Research in Personality, (41), 908-916. doi:10.1016/j.jrp.2006.03.004.

Neff, K. D., Kirkpatrick, K. L., & Rude, S. S. (2007b). Self-compassion and adaptive psychological functioning. Journal of Research in Personality, (41), 139-154. doi:10.1016/j.jrp.2006.03.004.

Neff, K. D. (2011). Self-Compassion: Stop Beating Yourself Up and Leave Insecurity Behind. New York: HarperCollins.

Neff, K. D. & Germer, C. (2018). The Mindful Self-Compassion Workbook: A Proven Way to Accept Yourself, Building Inner Strength, and Thrive. New York: The Guilford Press.

Raab, K. (2014 ). Mindfulness, Self-Compassion, and Empathy Among Health Care Professionals: A Review of the Literature. Journal of Health Care Chaplaincy, (20), 95–108. doi : 10.1080/08854726.2014.913876.

Ramkumar, N.A. (2012). Self-Compassion in Overcontrolled, Undercontrolled, and Resilient Personality Types. (Doctoral Dissertation). Texas A&M University, Texas.

Watson J. (2008). Nursing: The Philosophy and Science of Caring. (revised edition). Colorado: University Press of Colorado.

Wibowo, L.D.A & Andriyanto, E.S. (2018). The Big Five Personalities as Antecedents of Nurse Performance. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, (231), 300-303. Retrieved from https://doi.org/10.2991/amca-18.2018.82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-26