แนวทางสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับออกซิเจนที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ รอดเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

แนวทางการดูแลผู้ป่วย, ผู้สูงอายุ, ออกซิเจนที่บ้าน

บทคัดย่อ

               ออกซิเจนเป็นแก๊สที่จำเป็นและสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต มีบทบาทสำคัญในการผลิตพลังงาน       ในเซลล์ ทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารเป็นไปด้วยดีภายในเซลล์ คือที่ไมโตคอนเดรีย ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาเกี่ยวกับการใช้ออกซิเจนในร่างกายเพื่อให้ได้พลังงาน ช่วยให้ร่างกายมีกำลังในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ซึ่งร่างกายไม่สามารถสะสมออกซิเจนไว้ได้จึงต้องหายใจตลอดเวลา  ในผู้สูงอายุมีโครงสร้างและหน้าที่ของระบบทางเดินหายใจลดลงตามกระบวนการสูงอายุหรือตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง   ทั้งในปอดและส่วนอื่นๆ ของการหายใจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทรวงอกทำให้การขยายตัวของปอดถูกจำกัด ซี่โครงจะเคลื่อนไหวไม่เต็มที่ เนื่องจากมีแคลเซียมและกล้ามเนื้อหายใจหดตัวได้ไม่เต็มที่ การที่กระดูกสันหลังคดโกง ทำให้ความยาวตามขวางของทรวงอกลดลง ปอดจะแข็งตัวมากขึ้นและความยืดหยุ่นลดลง มีอากาศค้างอยู่ในปอดหลังการหายใจออกเพิ่มขึ้นแต่ความจุของปอดลดลง มีผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจลดลงด้วย ต่อมาปอดจะขยายตัวได้ไม่เต็มที่และปอดบางส่วนจะแฟบ ทำให้ความสามารถในการทำให้การหายใจโล่งน้อยลงหรือประสิทธิภาพการหายใจของผู้สูงอายุลดลง ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการออกซิเจน ผู้ดูแลหรือบุคคลในครอบครัวและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสภาพของผู้สูงอายุและความสำคัญของออกซิเจนได้อย่างถูกต้องรวมถึงการใช้อุปกรณ์การให้ออกซิเจนต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการหายใจลำบากหรือภาวะเหนื่อยหอบได้อย่างถูกวิธี

References

คณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก. (2550). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: บริษัทยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด.

ชะโลม วิเศษโกสิน. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของครอบครัวกับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้ดูแลที่ป็นญาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. (2555). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน. พิษณุโลก: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นัยต์ชนก ถิ่นจะนะ. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่บ้านโดยใช้ยางยืดต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน คริเอชั่น.

ปะราลี โอภาสนันท์. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พะเยา: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

รัตนา มาศเกษม. (2552). การบำบัดด้วยออกซิเจน. ในสุปาณี เสนาดิสัย และมณี อาภานันทิกุล (บรรณาธิการ). คู่มือปฏิบัติการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด.

วัชรา ตาบุตรวงศ์. (2555). ประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2556). การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในวัยสูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.ns.Mahidol.ac.th.

อภิรัติ พลูสวัสดิ์. (2560). การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.gj.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/conference/2560/change.pdf.

อรุโณทัย ศิริอัศวกุล. (2553). การบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen therapy). สืบค้นจาก http://www.si.mahidol.ac.th.

Eliopoulos, C., et al. (2018). Gerontological nursing. (9th ed). Philadelphia: Wolters Kluwer.

Guardian, P.T. (2008). The oxygen crisis: Could the decline of oxygen in the atmosphere undermine our health and threaten human survival? Retrieved from https:// wattsupwiththat.com.

McGavin, C. (2013). Colleen’s Story: Reflection on the Concept of Patient and Family Centered Care. Journal of Family Nursing. 19(4): 418 – 430.

McKinley, M. & O, Loughlin, V.D. (2008). Human Anatomy. (2nd ed). New York: McGraw– Hill.

Miller, C.A., et al. (2015). Nursing for Wellness in Older Adults. (7th ed). Philadelphia: Wolters Kluwer.

Potter, P.A., Perry, A.G., Stockert, P.A., Hall, A. (2011). Basic Nursing. (7 thed). St. Louis: Mosby Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-06