เทคโนโลยีที่ใช้รักษาออฟฟิศซินโดรม

ผู้แต่ง

  • มัณฑนา วัชรินทร์รัตน์ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ออฟฟิศซินโดรม, เครื่องเลเซอร์, เครื่องอัลตราซาวด์, การบำบัดด้วยคลื่นช็อก, เครื่องกำเนิดความร้อนลึกด้วยคลื่นสั้น

บทคัดย่อ

          ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือเส้นประสาท จนเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง การรักษาออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและอิริยาบถให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม การยืดกล้ามเนื้อ ประคบร้อน รับประทานยาลดปวด นวดแผนไทย ฝังเข็ม หรือใช้เทคโนโลยีในการรักษา ได้แก่ 1) เครื่องเลเซอร์ ที่ใช้พลังงานแสงเปลี่ยนเป็นคลื่นความถี่ เพื่อช่วยระงับอาการปวดและกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ  2) เครื่องอัลตราซาวด์ สามารถสร้างคลื่นเสียงความถี่สูง  เพื่อช่วยลดอาการปวดบวมและการอักเสบของกล้ามเนื้อเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ คลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อชั้นลึก 3) การบำบัดด้วยคลื่นช็อก เป็นการบำบัดที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ในการกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมและการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่  4) เครื่องกำเนิดความร้อนลึกด้วยคลื่นสั้น ใช้สำหรับลดอาการปวดและการอักเสบของเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และข้อต่อชั้นลึก

References

กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล, อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง, กิตติ ทะประสพ, เพ็ญทิพา เลาหตีรานนท์ และพัชรี จันตาวงศ์.(2557). การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นช็อกชนิดเรเดียลกับคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน.เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 24(2), 49-54.

กัลยา ปาละวิวัธน์. (2543). การรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เดอะบุคส์.

คมปกรณ์ ลิมป์สุทธิรัชต์. (2556). Office Syndrome: อาการปวดป้องกัน-รักษาได้. เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง ปวดเมื่อย จาก office syndrome ป้องกันได้, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

จันทนี นิลเลิศ. (2560). การรักษาโดยใช้คลื่นกระแทกในผู้ป่วยโรครองช้ำอักเสบเรื้อรังทางกายภาพบำบัด.เวชบันทึกศิริราช. 10(2), 97-102.

นรากร พลหาญ และคณะ. (2557). "กลุ่มอาการที่เกิดต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม". วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 6(12), 26-38.\

ปรมาภรณ์ ดาวงษา. (2558). "อาการบาดเจ็บสะสม". วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(1), 33-38.

ปวรส บุตะเขียว (2556). Office Syndrome. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560. จาก www.kpjhospital.com/images/PDF_File/km/km6/km64.pdf.

ปรัชญพร คำเมืองลือ. (2561). เครื่องมือทางกายภาพบำบัด. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จากwww.med.cmu.ac.th/dept/rehab/ 2017/images/Study_guide/10_1%20Physical%20modalities_PK.pdf 1-32.

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช.(2559). ปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยลเพนซินโดรม Myofascial Pain Syndrome.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เฟื่องฟ้า.

ปริญญา เลิศสินไทย. (2558). การรักษาด้วยคลื่นช็อกในความผิดปกติระบบโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ.วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 27(2), 107-124.

พรพิมล จันทรวิโรจน์. (2545). การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ทางกายภาพบำบัด. กรุงเทพ: คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต.มูลนิธิกองทุนไทย. (2551). ความรู้สำหรับชาวออฟฟิศ. จุลสารรักษ์สุขภาพ. 7(7), 3-5.

วิภู กำเหนิดดี. (2554). มุมมองเชิงประจักษ์ในการรักษากลุ่มอาการพังผืดกล้ามเนื้อ. วารสารแพทย์ทหารบก.64(2), 91-95.

วิไล ชินธเนศ, ธันวา ตันสถิตย์ และมนตกานต์ ตันสถิต. (2559). กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ศักดิ์ดา ศิริกุลพิทักษ์. (2555). อย่าคิดว่าโรคที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ไม่สำคัญ. สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 14. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2560 จาก http://www.reo14.go.th/download/reo14_go_th/1rokbycom4-55.pdf.

สมชาย รัตนทองคำ. (2544). ไฟฟ้าแสงและแม่เหล็กไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด, ขอนแก่น: ภาควิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมชาย รัตนทองคำ. (2555). เอกสารประกอบการสอนฟิสิกส์เรื่องหลักการทำงานพื้นฐานและวงจรพื้นฐานของเครื่องมือไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (2553). โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2560 จาก http://www.msd.bangkok.go.th/healthconner_Office%20syndrome.htm

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). ศาสตร์การบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม. สารสถิติ. 25(3), 11.

Basford JR, GD Baxter. (2010). Therapeutic physical agents, in DeLisa's physical medicine & rehabilitation. WR Frontera, JA DeLisa. Lippincott Williaim & Wilkins: Philadelphia.p.1706-1707.

Cameron MH. (1999). Physical agents in rehabilitation. Philadelphia: WB Sauders.

Hakguder A, Birtane M, Gurcan S, Kokino S, Turan FN. (2003). Efficacy of low level laser therapy in myofascial pain syndrome: algometric and thermographic evaluation. Lasers in Surgery and Medicine, 33, 339-343.

Kitchen S. and BaZin S. (2002). Electrotherapy evidence-base practice. Edinburgh: Churchill Livingstone.

Low J. and Reed A. (1994). Physical principles explained. London: Butterworth Heinemann.

Perry L. (2015). Trapezius Trigger Points Are Like Opinions, Everybody Has One. Retrieved August 8, 2016, fromhttp://www.triggerpointtherapist.com/blog/trapezius-trigger-points/trapezius-trigger-points-everybody- has-one/.

Romeo P, Lavanga V, Pagani D, Sansone V. (2014). Extracorporeal shock wave therapy in musculoskeletal disorders. Medical Principles and Practice, 23, 7-13.

Shaik Ahmed. (2009). Evaluation of the effects of shortwave diathermy in patients with chronic low back pain. Bangladesh Medical Research Council Bulletin. (35), 18-20.

Srbely JZ, JP Dickey. (2007). Randomized controlled study of the antinociceptive effect of ultrasound on trigger point sensitivity: novel applications in myofascial therapy. Clinical Rehabilitation. (21), 411-417.

Thigpen C. (2011). Extracorporeal Shockwave Therapy. In: Prentice WE. Therapeutic modalities inrehabilitation. (4 ed.,p.417-430.) New York: McGraw-Hill Companies.

Wang CJ. (2012). Extracorporeal shockwave therapy in musculoskeletal disorders.Journal of Orthopaedic Surgery and Research. (7), 11-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30