ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนของสาธารณรัฐมัลดีฟส์

ผู้แต่ง

  • กิ่งกนก เสาวภาวงศ์ อาจารย์ประจำ คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, สาธารณรัฐมัลดีฟส์

บทคัดย่อ

          สาธารณรัฐมัลดีฟส์เป็นประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะ จำนวน 1,190 เกาะ และทำเลที่ตั้งกลางมหาสมุทรอินเดีย และได้รับการจัดกลุ่มตามธรรมชาติเป็นเกาะปะการังจำนวน 26 เกาะ ทำให้มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกมาท่องเที่ยวในช่วงปี พ.ศ. 2513 รัฐบาลของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ได้มีการเปิดสัมปทานให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถลงทุนทำที่พักบนเกาะที่ไม่มีคนอยู่ อาศัยแบบหนึ่งเกาะหนึ่งโรงแรมจึงทำให้ประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมแต่เนื่องจาก นโยบายการให้สัมปทานแบบหนึ่งเกาะหนึ่งโรงแรมของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแทบไม่ได้มีโอกาสปฎิสัมพันธ์กับชาวพื้นถิ่นเนื่องจากเกาะโรงแรมแต่ละแห่งไม่มีชาวมัลดีฟส์อาศัยอยู่เลย

          จากการวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ทำให้เห็นว่าแม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์แต่ยังขาดศักยภาพทั้งในด้านองค์กรภายในชุมชน ด้านการจัดการ และแม้กระทั่งด้านการเรียนรู้ ส่งผลให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ไม่เป็นรูปธรรมมากนัก ต้องมีการจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากขึ้นจึงจะส่งผลให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นรูปธรรม

          จากการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ พบว่าสาธารณรัฐมัลดีฟส์มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน แต่ยังขาดองค์ความด้านการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนและมีความขัดแย้งกับ การรับรู้ภาพลักษณ์ของนักท่องเที่ยว หากจะปรับใช้กับบริบทของประเทศไทย การท่องเที่ยวโดยชุมชนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในท้องถิ่นตลอดจน  สร้างภาพลักษณ์ของวิถีชีวิตให้กับนักท่องเที่ยว จึงจะทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้อย่าง แท้จริงและก่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2550). สาธารณรัฐมัลดีฟส์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560, จาก http://sameaf.mfa.go.th/th/country/south-asia/detail.php?ID=10#1.

ชมพูนุท ภานุภาส. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันท์นรี พานิชกุล. (2556). มัลดีฟส์ ความพิสุทธิ์ที่ปลุกเร้า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560, จาก http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/CreativeCity/19604.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: มายด์กราฟิค.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2556). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560, จาก http://www.cbt-i.org/?ge=show_pages&gen_lang=20112012094103.

สมบัติ กาญจนกิจ. (2557). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Naseer, A. (1997). Profile and Status of Coral Reefs in the Maldives and Approaches to Its Management. [Online]. Retrieved October 20,2017, from http://www.fao.org/docrep/ x5627e/x5627e0a.htm.

Ministry of Tourism, Arts and Culture. (2013). Fourth Tourism Masterplan 2013-2017: Ministry of Tourism, Arts and Culture. Republic of Maldives.

UNWTO. (2004). Global Code of Ethics for Tourism. [Online]. Retrieved December 26, 2017, From http://ethics.unwto.org/en/content/global-code-ethics-tourism .

UNWTO. (2014). Tourism and Poverty Alleviation. [Online]. Retrieved December 26, 2017, From http://step.unwto.org/content/tourism-and-poverty-alleviation-1.

UNWTO. (2016). Compendium of Tourism Statistics dataset. [Online]. Retrieved December 26, 2017, From https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.5555/unwtotfb0462010020112015201611.

UNWTO. (2016). UNWTO Tourism Hightlight 2017 Edition. [Online]. Retrieved December 26, 2017, From https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284419029.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30