แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อสื่อความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นของตลาดคุ้งสำเภา จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มรดกทางวัฒนธรรม, คุณค่าทางวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจภูมิทัศน์วัฒนธรรม ทั้งด้านบริบทของชุมชน สภาพทางกายภาพวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของตลาดคุ้งสำเภา จังหวัดชัยนาท และเสนอแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการสื่อความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นสําหรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อยประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยว
ผลการศึกษาพบว่า ตลาดคุ้งสำเภา จังหวัดชัยนาท มีภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งด้านประวัติศาสตร์ของชุมชน วิถีชีวิตที่เอื้อกับระบบนิเวศ และมีการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมจากบรรพบุรุษ จากการวิเคราะห์ คุณค่าทางวัฒนธรรมภายในชุมชน/แหล่งท่องเที่ยว ในด้านคุณค่าทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ คุณค่าทางวิทยาศาสตร์/การศึกษา และคุณค่าทางสังคม รวมถึงคุณค่าทางด้านความแท้ และความมีบูรณาภาพหรือความสมบูรณ์ ทั้งนี้ เสนอแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อสื่อความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นในตลาดคุ้งสำเภา โดยการวางแผนปรับปรุงสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์สถาปัตยกรรม โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์และองค์ประกอบกายภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวการ ส่งเสริม ฟื้นฟูกิจกรรม โดยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและฟื้นฟูเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชุมชนเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวและส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลมรดกวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยการจัดทำแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้กับนักท่องเที่ยว สำหรับประชาสัมพันธ์และสื่อความหมายมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการตระหนักในคุณค่าของภูมิทัศน์วัฒนธรรมในชุมชนของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว และส่งเสริมความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมรดกภูมิปัญญากับสถานที่ เพื่อชุมชนจะได้รับประโยชน์จากการกำหนดพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม
References
ภาสกร คำภู. (2552). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี.การค้นคว้าอิสระปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัฐพงศ์ ปิ่นแก้ว และพัสตราภรณ์ ทิพยโสธร. (2557). การออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมปากคลองสวนหมากเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://161.246.14.22/ocs/submissionfiles/conferences/4/schedConfs/4/papers/54/submission/review/54-102-1-RV.pdf.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2556). ฟื้นพลังความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. (2531). การควบคุมชาวจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการปฏิรูปการปกครอง (พ.ศ. 2325-2435). ศิลปวัฒนธรรม. 13(4), 180-198.
สมบัติ ประจญศานต์ และคณะ. (2550). แนวทางการจัดการภูมิสถาปัตยกรรมทางการท่องเที่ยวในเขตอีสานใต้.กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุทธิพร ปรีชา. (2551). การศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการวางแผนพัฒนาชุมชนตลาดคลองสวน จังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระปริญญาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม มหาบัณฑิต ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Lennon, Jane and Mathews, Stevenand Associates. (1996). Cultural landscape management : guidelines for identifying, assessing and managing cultural landscapes in the Australian Alps national parks. Australian Alps Liaison Committee.