การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุม ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การจัดการห้อง, ห้องเรียน, ห้องประชุมบทคัดย่อ
การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมของมหาวิทยาลัยเอกชน (2) วิเคราะห์ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม และ (3) ปรับปรุงการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมและแบบสอบถามการใช้งานระบบสารสนเทศ ที่มีมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมของด้านการออกแบบโปรแกรม ในระดับมาก (x̄ = 4.08, S.D.= 0.63) ด้านการนำข้อมูลเข้าในระดับมาก (x̄= 4.09, S.D. = 0.59) ด้านการประมวลผลในระดับมาก (x̄= 4.10, S.D. = 0.59) ด้านการแสดงผลลัพธ์ ในระดับมาก (x̄= 4.11, S.D. = 0.56) ด้านการจัดเก็บข้อมูล ในระดับมาก (x̄= 4.10, S.D. = 0.59) และในภาพรวมผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยมีความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศในระดับมาก (x̄= 4.09, S.D. = 0.55) จึงแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมมีการพัฒนาตามขั้นตอนการพัฒนาระบบและสอดคล้องกับกระบวนการจองห้องของมหาวิทยาลัยซึ่งมีการพัฒนาระบบจากการจองห้องผ่านเอกสารเป็นการอนุมัติการจองห้องผ่านเว็บออนไลน์ ซึ่งทำให้สามารถขอจองห้อง ตรวจสอบสถานะการขอจองห้อง และอนุมัติการจองห้องได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง นอกจากนี้ข้อมูลไม่สูญหาย ลดการใช้เอกสาร ประหยัดทรัพยากรของมหาวิทยาลัยและอำนวยความสะดวกต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจองห้องมากขึ้น
References
กฤษฎา คำแท้ และคณะ. (2550). ระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจตัวแทนจองห้องพักโรงแรมโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560. จาก http://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/NU.the.2007.31.
จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง. (2559). แผนกลยุทธ์การดำเนินพันธกิจอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยคริสเตียน ประจำปีการศึกษา 2559. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ชัยรัตน์ รอดเคราะห์. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศการดำเนินการปริญญานิพนธ์และสารนิพนธ์เพื่อการบริหารงานบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560.จาก http://ir.swu.ac.th/xmlui/handle/123456789/ 4208?show=full
ธนากร หมื่นหลุบกุง และคณะ. (2556). ระบบจองห้องประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560. http://202.29.22.73/conf/nctim_2016/file/01/(p365-370)-IT-128-ตรี-ธนากร%20หมื่นหลุบกุง%20 (มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย). pdf.
ธิติมา ยังประดับ. (2550). ระบบสารสนเทศเพื่อการขอใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอที : ส่วนนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศบริษัท ทีโอที จำกัด. การศึกษาด้วยตนเอง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร : พิษณุโลก.
มัลลิกา เสียงกล่อม. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2543). บรรยายพิเศษ METADATA/XM กับบทบาทของบรรณารักษ์. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมิทธ์ สุขี และสายชล สุขนิ่ม. (2549). การพัฒนาระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา :วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุทรรศน์ สุคำภา. (2558). การพัฒนาระบบบริหารจัดการห้องประชุมวิทยาลัยนครราชสีมา : การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ "สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน" ครั้งที่ 2.
สุรักษ์ สิมคาน. (2557). ระบบบริหารจัดการจองห้องออนไลน์ของสํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม.PULINET Journal. 1(1), 45-48.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2547). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็คยูเคชั่น.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ และสมโภชน์ ชื่นเอี่ยม. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็คยูเคชั่น.