ประสบการณ์การบริหารเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • สินินาฏ ทิพย์มูสิก นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ประสบการณ์การบริหารเชิงกลยุทธ์, หัวหน้าหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ การบริหารกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยใช้วิธีการวิจัยคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแบบบรรยาย (Descriptive phenomenology) ของฮัสเซิร์ล (Husserl) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การบริหารเชิงกลยุทธ์ในหอผู้ป่วย ที่มีผลการดำเนินงานของหอผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายที่กำหนดจำนวน 4 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของโคไลซี (Colaizzi) และสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลตามแนวทางของลินคอนและกูบา (Lincoln & Guba)

          ผลการวิจัยพบว่า การบริหารกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย หมายถึงการบริหารให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และบุคลากรทุกคนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของทีมที่กำหนดตั้งแต่การจัดทำวิสัยทัศน์และเป้าหมายของหอผู้ป่วย การวางแผนกลยุทธ์ การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผล การบริหารกลยุทธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การจัดทำวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของหอผู้ป่วย 2) การวางแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีของหอผู้ป่วย 3) การจูงใจให้บุคลากรปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการประจำปีของหอผู้ป่วย 4) การนำ แผนปฏิบัติการประจำปีไปปฏิบัติ 5) การประเมินการบรรลุเป้าหมายของแผนปฏิบัติการประจำปีและปรับแผนปีต่อไป  6) การประเมินการบรรลุเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ จากผลของการวิจัยนี้เป็นแนวทางให้หัวหน้าหอผู้ป่วยทุกแห่ง ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ใช้วางแผนการบริหารกลยุทธ์ในระดับหอผู้ป่วยได้

References

กลุ่มการพยาบาล.(2557).รายงานประจำปีของหอผู้ป่วย กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตบริการสุขภาพที่ 4.(เอกสารไม่ตีพิมพ์).

ชาย โพธิสิตา.(2554).ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ:อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

วิภาพร วรหาญ.(2556).การบริหารเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาล.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2258, จาก https://www.tci-thaijo.org/.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.(2546).คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546.กรุงเทพฯ:สิรบุตร การพิมพ์จำกัด.

_________.2556).แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2556-พ.ศ.2561.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, จาก https://opdc.go.th

Colaizzi, P.(1978).Psychological research as the Phenomenologist views it. In R. Valle & M.King (Eds.), Existential-Phenomenological Alternatives for Psychology, New York: Oxford University Press.

Daft, R.L.(2008).Management, 9th ed.[Online].Retrieved August 10, 2015, from http://www.bms.lk/download/GDM Tutorials/e-books/Management.pdf.

_______.(2010).Management.10th ed. Ohio: South-Western.

Husserl, E.(1965).Phenomenology and the Crisis of Philosophy (Lauer Q.trans.). New York: harper & Row.

Kaplan, R.S. & Norton, D.P.(2001). The Strategy-Focused Organization. Boston, MA:Havard Business School Press.

Lincoln, Y.S., Guba, E.G.(1985).Naturalistic inquiry. Newbury Park, CA: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30