การให้บริการเลิกบุหรี่ในกระบวนการคัดกรองกลุ่มโรคไม่ติดต่อ
Main Article Content
Abstract
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรี้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันสำคัญระดับโลก อีกทั้งยังเป็นวาระอันท้าทายต่อการการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์กรด้านสุขภาพระดับนานาชาติต่างตระหนักและร่วมกันหารือวิธีจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัจจุบันมียุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายยุทธศาสตร์ ส่วนใหญ่เน้นการจัดการปัจจัยเสี่ยงหลักด้านพฤติกรรม 4 ปัจจัย ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ บทความฉบับนี้นำเสนอนโยบายในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ โดยเน้นเรื่องมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและการบูรณาการให้คำปรึกษาแบบกระชับเพื่อเลิกบุหรี่ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อในโรงพยาบาลชุมชนทั้งนี้ในฐานะประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ประเทศไทยได้ดำเนินการตามกรอบติดตามการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ อันประกอบไปด้วย 9 เป้าหมายหลัก และ 25 ตัวชี้วัดที่จะต้องบรรลุร่วมกันในปี พ.ศ. 2568 ในด้านการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้น เป้าหมายของประเทศไทย คือ ลดความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปให้ได้ร้อยละ 30 หรือความชุกของการสูบบุหรี่ควรอยู่ที่ร้อยละ 14.93 ดังนั้น หากมีการให้คำปรึกษาแบบกระชับเพื่อเลิกบุหรี่ในคลินิกโรคไม่ติดต่อซึ่งจัดเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการเลิกบุหรี่ น่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายของการควบคุมยาสูบระดับโลกได้
Article Details
Section
Academic articles
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์