การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และเพื่อประเมินรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and development)
วิธีดำเนินการวิจัย: ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ด้วยการประเมินความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง การประเมินทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง และประเมินอัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงาน ภายหลังนำรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ไปใช้แล้ว 3 เดือน
ผลการวิจัย:
1. รูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยหนักมีดังนี้
1.1 จัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงซ้ำทุก 3 เดือน ครั้งละ 2 วัน โดยวันแรก อบรมทฤษฎีจำนวน 4 ชั่วโมง อบรมภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง โดยฝึกทักษะการอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจในสถานการณ์จำลอง วันที่ 2 ฝึกทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง เป็นเวลา 7 ชั่วโมง
1.2 จัดทำ Pre- Arrest Signs และ Guideline ไปติดทุกหอผู้ป่วย และคัดเลือกครู ก. ประจำหอผู้ป่วย ทำหน้าที่เป็นผู้สอนและประเมินการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ณ หอผู้ป่วยที่สังกัด
2. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ
2.1. พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงภายหลังอบรมครั้งที่ 1 มากกว่าก่อนการอบรม และมากกว่าระยะหลังการอบรมครั้งที่ 2(3 เดือน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง หลังการอบรมครั้งที่ 1 สูงกว่าหลังการอบรมครั้งที่ 2 (3 เดือน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2.2 อัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงาน พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นจำนวน 16 ราย สามารถช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จ จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.89 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยอาการ Facture ribs, Hemothorax/Pneumothorax หรือ Rupture Heart เท่ากับ 0
สรุป; รูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงของพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยหนัก ควรอบรมทุก 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง ควรฝึกทักษะการอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง เพื่อทำให้อัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จสูงขึ้นและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์