ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์:1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน
รูปแบบการวิจัย:การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการที่แผนกตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง จำนวน 420 ราย คัดเลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและการประเมินภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบไบซีเรียล
ผลการวิจัย:1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และประวัติการเจ็บป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นประเภทสุขภาพ 2) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านอาหารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .006) และไขมันสะสมในร่างกาย (p = . 021) 3) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p = .029) และ 4) พฤติกรรมการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นด้านการรักษา/การดูแลตนเองเบื้องต้น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (p =. 024) และความดันโลหิตซิสโทลิค (p = .022)
สรุป:ทีมสุขภาพควรพิจารณาเลือกใช้โมบายแอพพลิเคชั่นสุขภาพเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพให้แก่ผู้ใช้บริการแผนกตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชน
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์