ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Main Article Content

มณฑา ทองตำลึง
สุรีพร ธนศิลป์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิต่ออาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

แบบแผนงานวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่อยู่ในอำเภอพุนพิน และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยจัดให้แต่ละกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันด้านเพศ และระดับความรุนแรงของโรค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 2) การให้ความรู้ในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 3) การฝึกทักษะในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 4) การปฏิบัติในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน และ 5) การประเมินผลการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน ประเมินอาการกำเริบเฉียบพลันโดยการวัดอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออก (Peak Expiratory Flow Rate: PEFR) โดยใช้ Wright Peak Flow Meter วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัย:

1) ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิมีอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองมีอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป: โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิ สามารถลดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้

Article Details

Section
Research articles