การจัดการความมั่นคงทางอาหาร ภาวะโภชนาการ และภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปัทมา พรมมิ
เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์และวิธีการจัดการความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยาย

วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง จำนวน 12 คน อายุ 16-19 ปี อายุครรภ์ 8-20 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและบันทึกภาคสนาม แบบบันทึกอาหารที่รับประทานในระยะเวลา 3 วัน แบบบันทึกภาวะโภชนาการและภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์พลังงานและสารอาหารโดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrients V.3

ผลการวิจัย: พบว่า ประสบการณ์ความมั่นคงทางอาหารของผู้ให้ข้อมูลมี 4 ประเด็นหลัก คือ ด้านคุณภาพและความเชื่อของอาหาร ปริมาณอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร ความกังวลเรื่องอาหารและวิธีการจัดการความมั่นคงทางอาหารมี 4 ประเด็นหลัก คือ การจัดการด้านอาหาร ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ และการจัดการโดยใช้แหล่งสนับสนุนทางสังคม ส่วนภาวะโภชนาการ จากการบันทึกอาหารที่รับประทานของผู้ให้ข้อมูล 11 คน พบว่าจำนวน 9 คนได้รับพลังงานไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และทุกคนได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายคือ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็กและ วิตามิน  ผู้ให้ข้อมูล 4 คน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนภาวะสุขภาพพบว่า ผู้ให้ข้อมูล 5 คน มีภาวะโลหิตจาง ทั้งหมดไม่พบภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

สรุป:ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางสำหรับทีมสุขภาพในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการสร้างเครื่องมือเพื่อคัดกรองความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อให้สามารถวางแผนและให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

Section
Research articles