ปัจจัยทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ ของวัยรุ่นหญิงตอนต้น

Main Article Content

สุนันต์ทา วงษ์ซารี
วราภรณ์ ชัยวัฒน์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตอนต้น รูปแบบงานวิจัย: แบบบรรยายเชิงทำนาย

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 อายุ 12-15 ปี โรงเรียนสายสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 432 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ต่อการละเว้น เพศสัมพันธ์ การรับรู้อุปสรรคต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์การรับรู้ความสามารถของตนต่อการละเว้น เพศสัมพันธ์ อิทธิพลของพ่อแม่ต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ อิทธิพลของเพื่อนต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์และความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .86, .95, .89, .89, .80 และ .80 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93, .92, .92, .90, .94 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย:

1)          วัยรุ่นหญิงตอนต้นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 89.6) มีความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์อยู่ใน

ระดับสูง

2)      ปัจจัยที่สามารถทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตอนต้น        ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ อิทธิพลของพ่อแม่ (P =.359) การรับรู้ความสามารถของตน (P=.218) การรับรู้ประโยชน์ของการละเว้นเพศสัมพันธ์(P =.107) และการรับรู้อุปสรรคของการละเว้นเพศสัมพันธ์(P = -.082) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ ได้ร้อยละ 34.6 (R2= .346)

สรุป: ปัจจัยด้านอิทธิพลของพ่อแม่มีประสิทธิภาพในการทำนายความมุ่งมั่นต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์ ของวัยรุ่นหญิงตอนต้นได้สูงสุด พยาบาลควรนำปัจจัยดังกล่าวมาใช้ในการส่งเสริมวัยรุ่นหญิงตอนต้นให้ เป็นผู้มีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ


Article Details

Section
Research articles