ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ กับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

ศิริพร แสงศรีจันทร์
สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง
พัชรินทร์ ไชยบาล

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้และการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพกับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานต่างด้าว ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพและแบบสอบถามการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ.74 และ .89 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ และ สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย: 1)การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อยู่ในระดับปานกลาง     ( =2.31,SD=.19) และการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อยู่ในระดับน้อยที่สุด( =1.36, SD=.13) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ทักษะการสื่อสารภาษาไทย อาชีพ ระยะเวลาการทำงานในประเทศไทยและพฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์กับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r = .19)

สรุป: ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายและแผนเพื่อเพิ่มการรับรู้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพและการใช้ชุดสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

Article Details

Section
Research articles