ประสิทธิผลของหุ่นจำลองทางการแพทย์เพื่อการฝึกกำหนดตำแหน่งอิเล็กโทรดในการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีดมาตรฐานต่อความรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลหญิง
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหุ่นจำลองทางการแพทย์เพื่อการฝึกกำหนดตำแหน่งอิเล็กโทรดในการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีดมาตรฐานต่อความรู้และความพึงพอใจสำหรับนักเรียนพยาบาล
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบก่อนทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลหญิงชั้นปีที่ 2 จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ หุ่นจำลองทางการแพทย์เพื่อการฝึกกำหนดตำแหน่งการติดอิเล็กโทรดในการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีดมาตรฐานสำหรับนักเรียนพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้เรื่องการติดอิเล็กโทรดตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด 12 ลีดมาตรฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการฝึกติดอิเล็กโทรดตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด 12 Lead มาตรฐาน แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติที (Dependent t-test)
ผลการวิจัย: 1) นักศึกษาพยาบาลหญิงชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังการทดลอง ( = 23.16, SD=3.65) มากกว่าก่อนการทดลอง (= 17.07, SD=3.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = -9.86, p < .01)
2) นักศึกษาพยาบาลหญิงชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจโดยรวม (= 4.37, SD=0.65) ต่อการฝึกติดอิเล็กโทรดตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด 12 Lead มาตรฐาน ทดลอง อยู่ในระดับ มากที่สุด (Excellent)
สรุป: ผู้บริหารของคณะพยาบาลศาสตร์ควรสนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลนำหุ่นจำลองทางการแพทย์เพื่อการฝึกกำหนดตำแหน่งอิเล็กโทรดในการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีด ไปใช้ในการเรียนการสอนเนื่องจากมีประสิทธิผลให้คะแนนความรู้เพิ่มขึ้นและนักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองมากที่สุด
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์