ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความปวด ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด และปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด
รูปแบบการวิจัย:การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งปอด จำนวน193 คน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบากแบบประเมินอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าแบบประเมินความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .89, .92, .71, .83, .94 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย: 1) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด อยู่ในระดับสูง (=73.01, SD =15.44)
2) ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แต่ความปวดไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด
3) ภาวะซึมเศร้า (b=-.52) อาการหายใจลำบาก (b=-.28) ความเหนื่อยล้า(b=-.30) และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน (b=-.14)เป็นปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยของมะเร็งปอด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 43 (R2= .43)
สรุป: องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย สามารถนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการดูแลเพื่อจัดการกับกลุ่มอาการและตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์