ปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร
รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบบรรยาย
วิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้รับบริการที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 200 คน และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 200 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น(StratifiedSampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามเหตุผลที่มาเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant analysis) ด้วยวิธีขั้นตอน (Stepwise method) และวิธี Enter
ผลการวิจัย:พบว่า มี 2 ตัวแปร ที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาล ได้แก่ มีการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ และการแนะนำของบุคคลใกล้ชิด ส่วนตัวแปรจำนวน 6 ตัวแปร ที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ คุณภาพการรักษาของแพทย์ มีระบบการให้บริการที่ดี พฤติกรรมบริการของพยาบาล มีการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลผ่านตามสื่อต่างๆ ราคาค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับบริการที่ได้รับ และสถานที่ให้บริการ โดยตัวแปรทั้ง 8 ตัวแปร สามารถร่วมกันเป็นปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนได้ร้อยละ 99.25
สรุป:ผู้บริหารการพยาบาลทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อดึงดูดผู้รับบริการให้มาใช้บริการArticle Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์