ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

Main Article Content

สุพีระพรรณ ธูปมงคล
นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะ

รูปแบบการวิจัย: แบบกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายกันในด้าน อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการสอนแนะเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการสอนแนะของ Gracy (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานซึ่งพัฒนาจากแบบประเมินของสมาคมโรคหัวใจประเทศสหรัฐอเมริกา (2006) ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาค่าความเที่ยงของการสังเกต ได้เท่ากับ .90  วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติทดสอบที

ผลการวิจัย:1) มารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

       2) มารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองสูงกว่ามารดาที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป:โปรแกรมการสอนแนะเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานส่งผลให้มารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานได้ดีขึ้นและดีกว่าการพยาบาลตามปกติ

Article Details

Section
Research articles