ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

Main Article Content

พัชรวรรณ แก้วศรีงาม
มยุรี นิรัตธราดร
ชดช้อย วัฒนะ

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย

วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 140 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ คัดเลือกด้วยการสุ่มตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 7 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 3) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2,4) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2,5) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 6) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 7) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .84, .90, .87, .88, .94 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Enter

ผลการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =29.97,SD=2.68) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ได้ร้อยละ 49 ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2(β = .30, p < .001)   การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (β = .27,p < .001)การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2(β =.18, p < .05) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (β = .25, p < .001)

สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานให้กับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

Article Details

Section
Research articles