ประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด
รูปแบบการวิจัย:การวิจัยแบบก่อนทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น และหอผู้ป่วยศัลยกรรมของโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการอบรม แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด คู่มือการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(Dependent t-test)
ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดตามการรับรู้ของพยาบาล หลังการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดสูงกว่าก่อนการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบบันทึกที่มีประสิทธิภาพตามการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์