อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: ศึกษาอำนาจการทำนายของตัวแปรทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 78 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินทัศนคติ แบบประเมินการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และแบบประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .74, .93, .89 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Binary logistic regression
ผลการวิจัย: ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม สามารถร่วมกันทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ร้อยละ 17 (Nagelkerke R2 = .170) โดยความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมสามารถทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = -.199, p = .032)
สรุป: พยาบาลควรมีการประเมินปัจจัยที่มีผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อนำข้อมูลไปใช้วางแผนส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาให้มากขึ้นArticle Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์