ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมีการปรับตัวด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี จำนวน 121 คน ที่มารับการรักษาที่คลินิกอายุรกรรมประสาท หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลราชวิถี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการกลืนทางคลินิก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการพึ่งพาตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, 0.94, .94, .97 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย:
1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 102.47, SD = 3.30) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า หมวดไขมัน อยู่ในระดับดีมาก (= 24.64, SD=4.81) หมวดข้าว-แป้ง-น้ำตาล หมวดเนื้อสัตว์ หมวดผักผลไม้ และหมวดเครื่องปรุงรส อยู่ในระดับดี (=14.95,SD =3.55 ,= 23.70, SD =4.22 , = 25.24 ,SD= 5.33 และ = 10.94 ,SD =2.57 ตามลำดับ) และหมวดเครื่องดื่มอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.00 ,SD = 1.75)
2. ภาวะกลืนลำบากไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
3. ความรุนแรงของโรคและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =- .20 และr =- .48 ตามลำดับ)
4. สัมพันธภาพในครอบครัวและการพึ่งพาตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.42 และr =.28 ตามลำดับ)
สรุป: ควรมีการประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพยาบาลควรส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคที่อยู่ในระดับดีทุกด้าน และรับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรค ภาวะซึมเศร้า สัมพันธภาพในครอบครัวและการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์