ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัว และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต

Main Article Content

พรพิมล วดีศิริศักดิ์
วิไลวรรณ ทองเจริญ
จันทนา รณฤทธิวิชัย
อรวมน ศรียุกตศุทธ

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัว และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต จำนวน 126 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า 3)แบบประเมินกลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้า และผลจากการจัดการกับอาการอ่อนล้า  4) แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว 5) แบบประเมินคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2, 4, 5 เท่ากับ .87, .97 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย: ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าโดยรวมของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตอยู่ในระดับปานกลาง (= 4.11, SD = 1.69) กลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่ผู้ป่วยปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การนอนหลับ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.38, SD = 0.56) คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (= 98.94 , SD = 8.39) ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าด้านพฤติกรรมหรือความรุนแรง และด้านความหมายเชิงอารมณ์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุป: สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อป้องกันและจัดการกับอาการอ่อนล้าตามบริบทของผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Article Details

Section
Research articles