ความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายใน ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามคุณภาพ
ชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย
แบบแผนการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 จำนวน 180 คน ที่คัดเลือกตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ที่พัฒนาเป็นภาษาอังกฤษโดย Vachkova, Jezek, Mares และ Moravcova (2013) และแปลเป็นภาษาไทยตามหลักการแปลแบบย้อนกลับ ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และวิเคราะห์ความสอดคล้องภายในด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient)
ผลการศึกษา: ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย (5 ข้อ) ด้านจิตใจ (2 ข้อ) และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (2 ข้อ) ได้ค่าความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ( = 29.17, df = 24, p = .21; /df = 1.22; GFI = .96; AGFI = .93; CFI = .98; RMSEA = .03) โดยรายด้านมีนํ้าหนักองค์ประกอบระหว่าง .46 ถึง .96 และรายข้อมีนํ้าหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .47 ถึง .82 ส่วนผลการตรวจสอบความ
สอดคล้องภายใน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .75 โดยอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สรุป: พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขควรนำ.แบบสอบถามนี้ไปใช้ประเมินคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในบริบทของสังคมไทย
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์