ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็ง ระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล และปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลแบบแผนการวิจัย: แบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลหลักในครอบครัวซึ่งดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่เคยเข้าพักรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 2 แห่ง และเสียชีวิตแล้วมานาน 2-6 เดือน จำ.นวน 110 คน คัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินคุณภาพการตาย 3) แบบประเมินระดับความทุกข์ทรมาน 4) แบบประเมินสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว 5) แบบประเมินการสื่อสารของทีมสุขภาพ และ 6) แบบประเมิน
ความผาสุกทางจิตวิญญาณ โดยชุดที่ 2, 4, 5 และ 6 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86, .86, .82 และ .98 ตามลำดับ ชุดที่ 3 มีค่าความเที่ยงแบบทดสอบซํ้า เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย : 1) คุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลอยู่ในระดับดี (x=6.95, SD = 0.40) 2) ความทุกข์ทรมานมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามการรับรู้ของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.56; p<.05) 3) สัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว การสื่อสารของทีมสุขภาพ และความผาสุกทางจิตวิญญาณ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .38, .42, และ .43 ตามลำ.ดับ p<.05)
สรุป: การบรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ ของโรค การส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว การเพิ่มคุณภาพการสื่อสารของทีมสุขภาพ และการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็ง ระยะสุดท้าย มีความเชื่อมโยงกับคุณภาพการตายที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์