ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม

Main Article Content

วรรณศิริ ประจันโน
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
พรนภา หอมสินธุ์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศและปัจจัยทำ.นายพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษา
ตอนปลาย
แบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำ.นาย
วิธีดำ.เนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำ.นวน 306 คน จ.จันทบุรี
รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การเข้าถึงสื่อที่ยั่วยุความรู้สึกทางเพศ การรับรู้ความรุนแรงของโรค
เอดส์และการตั้งครรภ์ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อน ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับ
ผู้ปกครอง การควบคุมกำ.กับของผู้ปกครอง การรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธพฤติกรรม และพฤติกรรม
ทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสมการถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ทางเพศร้อยละ 4.5 (เพศชายร้อยละ 10.6 และเพศหญิงร้อยละ
0.5) ปัจจัยทำ.นายพฤติกรรมทางเพศโดยควบคุมปัจจัยด้านเพศ พบว่า การรับรู้การมีพฤติกรรมเสี่ยงทาง
เพศของเพื่อน (. = .328) การเข้าถึงสื่อที่ยั่วยุความรู้สึกทางเพศ (. = .242) การรับรู้ความรุนแรงของ
โรคเอดส์และการตั้งครรภ์ (. = -.157) และการรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธพฤติกรรมที่นำ.ไปสู่การ
มีเพศสัมพันธ์ (. = -.120) สามารถร่วมกันทำ.นายพฤติกรรมทางเพศได้ร้อยละ 30.6 อย่างมีนัยสำ.คัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 (R2 = .306, p < .05)
สรุป: การส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ควรเน้นการปรับเปลี่ยนการรับรู้เกี่ยวกับ
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ส่งเสริมการเรียนรู้ผลกระทบจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การป้องกันการใช้
สื่อยั่วยุความรู้สึกทางเพศ และการฝึกทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมที่นำ.ไปสู่การมีเพศสัมพันธ์

Article Details

Section
Research articles