ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Authors

  • กัลยา บุรี
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

Keywords:

การบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, ทฤษฎีเผชิญความจริง, TIME MANAGEMENT FOR SOCIAL NETWORK, SECONDARY SCHOOL STUDENTS, REALITY THEORY

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2556  จำนวน 20 คน ที่มีคะแนนการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่ำกว่าเปอร์เซ็นท์ไทล์ที่ 25 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน    และกลุ่มควบคุม 10 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์  และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม  และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Bonferroni

ผลการวิจัย พบว่า 1)นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงมีการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในระยะหลังการทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงมีการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในระยะติดตามผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3)นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงมีการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในระยะหลังการทดลองแตกต่างจากในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงมีการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในระยะติดตามผลแตกต่างจากในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ:  การบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์/ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา/ ทฤษฎีเผชิญความจริง

 

THE  EFFECTS OF REALITY GROUP COUNSELING THEORY ON TIME MANAGEMENT FOR SOCIAL NETWORK OF  SECONDARY SCHOOL  STUDENTS

Abstract

The purpose of this research  were to study the Effects of Reality Group Counseling Theory on Time Management for Social Network of  Secondary School Students. The sample composed of   20 people who were secondary school students  year 2013 who involve with time management for network scores were lower than the 25th percentile. Simple random sampling was used There are ten people in the experimental group and ten people in the control group. experimental group who received reality group counseling and  control group who did not receive  reality group counseling. The tools which were used in the research were time management for social network test and reality group counseling programs. Then, the data Analysis of variance with repeated measures one variable between groups and within groups of variables. When the difference is statistically significant difference test paired by way of Bonferroni.

The research found that 1) secondary school students who received reality group counseling had time management for social network  are different of control group in post-experiment period statistically significant at .05 level.  2) secondary school students who received reality group counseling had time management for social network  are different of control group  in follow up period statistically significant at .05 level.  3) secondary school students who received reality group counseling had time management for social network after experiment period are different from pre-experiment statistically significant at .05 level. 4) secondary school students who received reality group counseling had time management for social network in  follow up period are different from pre-experiment statistically significant at .05 level.

 

Key words: TIME MANAGEMENT FOR SOCIAL NETWORK / SECONDARY SCHOOL STUDENTS / REALITY  THEORY

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

บุรี ก., & กุลนภาดล เ. (2014). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการบริหารเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 5(2), 47–60. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/20758

Issue

Section

Research Articles