ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ เอี่ยมพรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุภาภรณ์ สุดหนองบัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง , พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง , โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 52 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง แบบคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้และความคาดหวังในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่น .80 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่น .83 และเครื่องมือวัดสุขภาพ ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ Chi-square test, Fisher’s exact test, Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney
U test

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง คะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในความสามารถตนเองต่อการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในผลดีของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -4.463, p < .001; Z = -4.464, p < .001; Z = -4.463, p < .001; Z = -4.400, p < .001 และ Z = -4.307, p < .001 ตามลำดับ) และ 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง คะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในความสามารถตนเองต่อการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในผลดีของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -4.612, p < .001; Z = -4.978, p < .001; Z = -4.856, p < .001; Z = -4.121, p < .001 และ Z = -4.629, p < .001 ตามลำดับ)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพควรนำโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคนี้ไปใช้กับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่อื่นๆ โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบท เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น

References

กรมการแพทย์. (2558). คู่มือคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชลธิรา กาวไธสง, และรุจิรา ดวงสงค์. (2557). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลชุมพวง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(3), 295–303.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2561. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/news/announcement-detail.php?id=13251&gid=16

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2555). ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (Protection motivation theory). สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/115747

ปรีดี ยศดา, วาริณี เอี่ยมสวัสกุล, และมุกดา หนุ่ยศรี. (2562). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาล, 68(4), 39–48.

พิเชษฐ์ หอสูติสิมา. (2562). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการ สคร. 9, 25(2), 56–66.

รัตนาภรณ์ ศิริเกตม, สุรชาติ สิทธิปกรณ์, และพร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม. (2558). ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 30(3), 299–304.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อังคณา บุญศรี, และสุกัญญา ทองบุผา. (2563). ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรูปแบบ Stroke Digital service. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 5(3), 36–44.

World Stroke Organization. (2017). Annual report 2017. Retrieved from https://www.world-stroke.org/images/Annual_Report_2017_online.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

เอี่ยมพรม ร., & สุดหนองบัว ส. (2024). ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 35(2), 114–127. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/272285

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)

หมวดหมู่