ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อนุธิดา เปรมโยธิน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รุ่ง วงศ์วัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค, โรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 255 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีค่าความเชื่อมั่น .71 แบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .88 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น .82 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีค่าความเชื่อมั่น .92 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับปานกลาง (M = 30.40, SD = 7.45) ระยะเวลาการปฏิบัติงาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก การสนับสนุนด้านอารมณ์และสังคม และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ร้อยละ 52.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adj. R2 = .526, p < .05) โดยการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้มากที่สุด (Beta = .443, p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้การสนับสนุนด้านอารมณ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกิดการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. (2558). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). รายงานแสดงระยะเวลาการเป็น อสม. อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นจาก http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/index/index.php

กรรณิการ์ จารี. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.

ญาดา ขลัง, นุชฎาภรณ์ สั่งสอน, เกตุศิรินทร์ รัตนน้ำเพชร, คมกฤต ก้อนแก้ว, และพิษณุรักษ์ กันทวี. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมหาดบ้ายนวลหอมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในบ้านหาดบ้าย ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม (น. 664–677). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิคม ถนอมเสียง. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่าง. สืบค้นจาก https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf/

ประเทือง ฉ่ำน้อย. (2558). การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษา: อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์.

ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ, และจเด็ด ดียิ่ง. (2558). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(2), 84–91.

สฤษดิ์เดช เจริญไชย, วิชัย สุขภาคกิจ, และมาสริน ศุกลปักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 517–527.

สาคร อาจศรม. (2558). ความสัมพันธ์ของความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. (2563). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2563. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/odpc2

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2563). รายงานประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://cloud.plkhealth.go.th/index.php/s/n8krGbogyJ3miyA

สุรพล สิริปิยานนท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 85–103.

Prabaningrum, A., Fitryasari, R., & Wahyudi, A. S. (2020). Analysis of dengue hemorrhagic fever prevention behavior factors based on the Theory of Planned Bahavior. International Journal of Psychosocial Rehabilitation, 24(9), 2926–2932. doi:10.37200/IJPR/V24I9/PR290321

Strecher, V. J., & Rosenstock, I. M. (1996). The Health Belief Model. In K. Glanz, F. Lewis, & B. Rimer (Eds.), Health behavior and health education: Theory, research, and practice (pp. 41–59). San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Thoits, P. A. (1982). Conceptual, methodological, and theoretical problems in studying social support as a buffer against life stress. Journal of Health and Social Behavior, 23(2), 145–159. doi:10.2307/2136511

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

เปรมโยธิน อ., & วงศ์วัฒน์ ร. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 35(1), 248–259. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/269884