ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน
คำสำคัญ:
การพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้, มารดา, ความรู้ในการดูแลบุตร, พฤติกรรมในการดูแลบุตร, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่ดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ของมารดาในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน มีค่าความเชื่อมั่น .79 และแบบวัดพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน มีค่าความเชื่อมั่น .84 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ paired t-test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.298, p < .001 และ t = 15.325, p < .001 ตามลำดับ) และ 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.688, p < .001 และ t = 14.176, p < .001 ตามลำดับ)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรนำโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้นี้ไปใช้กับมารดาที่ดูแลบุตรหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่บ้าน เพื่อให้มารดามีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลบุตรที่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
References
กรมอนามัย. (2565). รายงานสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก. สืบค้นจาก https://covid19.anamai.moph.go.th/th/
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 92–103.
จารุวรรณ สนองญาติ. (2567). ผลของนวัตกรรมสื่อแอนิเมชันต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคโควิด 19 ของเด็กนักเรียนประถมศึกษา. วารสารสถาบันบําราศนราดูร, 18(1), 46–57.
จารุวรรณ สนองญาติ, ลักขณา ศิรถิรกุล, เนติยา แจ่มทิม, ยุคนธ์ เมืองช้าง, และภาวดี เหมทานนท์. (2566). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกคลอดก่อนกําหนดต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 6(1), 42–57.
นิศากร เยาวรัตน์, ศริณธร มังคะมณี, และพัชรินทร์ วิหคหาญ. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของมารดาหลังคลอด. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(1), e 258069.
พัชราภรณ์ อารีย์, สุภาพร เชยชิด, บุษบา หีบเงิน, และพรศิริ ศรมยุรา. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคปอดอักเสบของผู้ดูแลในโรงพยาบาล เขต 5 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(4), 150–164.
วัลทณี นาคศรีสังข์. (2564). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 82–98.
สมหมาย หิรัญนุช, สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์, และไพลิน นุกูลกิจ. (2564). ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(2), 61–70.
สาธิมา สงทิพย์, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, และอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. (2558). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดา ต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว อายุ 0–2 ปี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 26(2), 25–38.
สุทธินี สุปรียาพร. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบซ้ำ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Huang, C. Y., Chang, L., Liu, C. C., Huang, Y. C., Chang, L. Y., Huang, Y. C., ... Huang, L. M. (2015). Risk factors of progressive community-acquired pneumonia in hospitalized children: A prospective study. Journal of Microbiology, Immunology and Infection, 48(1), 36–42. doi:10.1016/j.jmii.2013.06.009
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2004). Nursing research: Principles and methods (7th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน