ผลของคู่มือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อการเสพซ้ำของผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีน

ผู้แต่ง

  • มนทกานติ์ อุเต็น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ดาราวรรณ ต๊ะปินตา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สมบัติ สกุลพรรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คู่มือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเอง, ผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีน, การเสพแอมเฟตามีนซ้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของคู่มือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 44 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเอง แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการเสพแอมเฟตามีนซ้ำหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และชุดทดสอบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ถึงเดือนมกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, independent t-test, McNemar test และ Chi-square test for trend

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะหลังการทดลอง 7 วัน และระยะหลังการทดลอง 21 วัน กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีนที่เสพซ้ำน้อยกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001 และ p < .05 ตามลำดับ) และ 2) ระยะหลังการทดลอง 7 วัน และระยะหลังการทดลอง 21 วัน กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีนที่เสพซ้ำไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลจิตเวชควรนำคู่มือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีน เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการเสพแอมเฟตามีนซ้ำลดลง

References

จุฑารัตน์ ชัยวีรพันธ์เดช, และสิวิลักษณ์ กาญจนบัตร. (2559). ผลกระทบต่อทารกจากมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนก่อนคลอด. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 60(1), 53–64.

รัชนีพร จันทร์มณี, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ชนัดดา แนบเกษร, และดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2558). ผลของโปรแกรมปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่อการรับรู้ความสามารถของตนและความตั้งใจเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยชายเสพติดแอมเฟตามีน. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 10(4), 155–162.

วรัญญา จิตรผ่อง, วิโรจน์ วีรชัย, และรัศมน กัลยาศิริ. (2554). ความรุนแรงของการเสพสารเมทแอมเฟตามีนซ้ำของผู้กำลังรับการบำบัด ณ สถาบันธัญญารักษ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 55(2), 153–169.

วีรพล ชูสันเทียะ, และสมเดช พินิจสุนทร. (2560). ผลกระทบจากการใช้ยาเสพติดในผู้เข้ารับการบําบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี: กรณีศึกษา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 523–533.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสุขภาพจิต. (2560). สถิติการบำบัดรักษา ระบบ รายงาน บสต. สืบค้นจาก www.nccd.go.th

สถาบันธัญญารักษ์. (2560). ข้อมูลสถิติ จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดทั้งหมด ปีงบประมาณ 2556–2560. สืบค้นจาก http://www.thanyarak.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=2545&Itemid=61

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2555). การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบการรู้คิด-พฤติกรรมบำบัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5. (2560). สถานการณ์ยาเสพติดพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ห้วงเดือนกรกฎาคม 2560. สืบค้นจาก https://www.oncb.go.th/ONCB_OR5/PublishingImages/Pages/Event/%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%202560.pdf

สำนักบริหารการสาธารณสุข. (2559). แนวทางการดำเนินงานยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. สมุทรสาคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง.

สำนักบริหารการสาธารณสุข. (2560). ผลการดำเนินงานการปรับระบบบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2559). คู่มือการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คงเกียรติการพิมพ์.

สุกุมา แสงเดือนฉาย, สำเนา นิลบรรพ์, วันเพ็ญ ใจปทุม, สุวภัทร คงหอม, ญาดา จีนประชา, และธัญญา สิงห์โต. (2557). ผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อป้องกันการติดซ้ำของผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี.

เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, สุกัญญา กาญจนบัตร, นภาจันทร์ ชาปลิก, จริยา มงคลสวัสดิ์, ธันยาพร โคตรชุม, และกชนิภา ขวาวงษ์. (2566). การศึกษาการกลับไปใช้สารเมทแอมเฟตามีนซ้ำของผู้ป่วยยาเสพติดที่รับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 34(2), 127–136.

Beck, J. S. (2011). Cognitive behavior therapy: Basics and beyond (2nd ed.). New York: The Guilford Press.

Burns, N., & Grove, S. K. (2009). The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (6th ed.). St. Louis, MO: Saunders Elsevier.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

McHugh, R. K., Hearon, B. A., & Otto, M. W. (2010). Cognitive behavioral therapy for substance use disorders. The Psychiatric Clinics of North America, 33(3), 511–525. doi:10.1016/j.psc.2010.04.012

Thapinta, D., Skulphan, S., Kitsumban, V., & Longchoopol, C. (2017). Cognitive behavior therapy self-help booklet to decrease depression and alcohol use among people with alcohol dependence in Thailand. Issues in Mental Health Nursing, 38(11), 964–970. doi:10.1080/01612840.2017.1332700

United Nations Office on Drugs and Crime. (2020). World drug report 2020. Retrieved from https://www.unodc.org/documents/scientific/ATS/2020_ESEA_Regonal_Synthetic_Drug_Report_web.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

อุเต็น ม., ต๊ะปินตา ด., & สกุลพรรณ์ ส. (2024). ผลของคู่มือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อการเสพซ้ำของผู้ป่วยโรคติดแอมเฟตามีน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 35(1), 168–180. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/268109

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)

หมวดหมู่