การพัฒนาโปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
  • บุญเลี้ยง ทุมทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อภิญญา อิงอาจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

จิตสำนึกวิถีพุทธ, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหาภาวะซึมเศร้า และความต้องการการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน และระยะที่ 3 ปรับปรุงโปรแกรม และนำโปรแกรมไปใช้จริง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรม มีค่าความเชื่อมั่น .78 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) แบบสอบถามความสุขใจวิถีพุทธ มีค่าความเชื่อมั่น .88 และแบบสอบถามการรับรู้การสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธ มีค่าความเชื่อมั่น .85 ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test, independent t-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีความคิดทางบวก การมีเป้าหมายในชีวิต ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุได้ 2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความคิดเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรมในระดับมาก (M = 48.51, SD = 4.41) 3) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 6.530, p < .001) และ 4) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสุขใจ และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธ มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.865, p < .001 และ t = 21.586, p < .001 ตามลำดับ) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.548, p < .01 และ t = 2.048, p < .05 ตามลำดับ)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพที่รับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุควรนำโปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ ไปใช้ในการดูแลผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า

References

กนกพร แสงศรีจันทร์. (ม.ป.ป.). ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ด้านการรับรู้คุณค่า และด้านการยอมรับเทคโนโลยี ส่งผลต่อการตัดสินใจปฏิบัติธรรมผ่านคอร์สออนไลน์ ของธรรมสถานมูลนิธิพุทธะมหาเมตตา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat18/6314060002.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2545). ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/test/download/files/thi15.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2553). แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. สืบค้นจาก https://www.thaidepression.com/www/news54/CPG-MDD-GP.pdf

กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2561). รายงานข้อมูลผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร จากฐานประชากรในระบบทะเบียนราษฎร ณ เดือนธันวาคม 2561 และเปรียบเทียบกับข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2560. สืบค้นจาก https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000132/download/22_02_62fullpaper.pdf

ไกรฤกษ์ ศิลาคม, และหัสดิน แก้ววิชิต. (2560). ผลของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อสุขภาพจิตและความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 16–24.

ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์, อารยา ทิพย์วงศ์, ลักขณา ยอดกลกิจ, และสายสมร เฉลยกิตติ. (2562). ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(1), 33–40.

ไพรัตน์ ชมภูบุตร, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, และหทัยรัตน์ สายมาอินทร์. (2565). การพัฒนาและผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 36(3), 117–140.

มณีรัตน์ ชาวบล, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, และดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. (2565). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 40(3), 90–104.

มาริสา อุทยาพงษ์. (2560). การประยุกต์ใช้การเจริญสติ เพื่อป้องกันผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(พิเศษ 2), 109–122.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วริศดา พุกแก้ว, พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2563). รูปแบบการพัฒนาสติเพื่อเสริมสร้างสันติสุขภาวะสําหรับผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(เพิ่มเติม), 108–120.

ศิวพร ชุ่มเย็น, และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการทำงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 34(1), 158–171.

สมจิตร เสริมทองทิพย์. (2560). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี. (2554). สมาธิบำบัดแบบ SKT รักษาสารพัดโรคได้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, และปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. (2557). ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 22–31.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Orem, D. E. (2001). Nursing concepts of practice (6th ed.). St Louis: Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

หงษ์กิตติยานนท์ ฐ., ทุมทอง บ., & อิงอาจ อ. (2023). การพัฒนาโปรแกรมการสร้างจิตสำนึกวิถีพุทธเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 34(2), 252–265. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/265241

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)

หมวดหมู่