ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่รับการรักษาในโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, หัวใจล้มเหลว, การรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย, อายุ, ความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่รับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่รับการรักษาในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี และมีแผนการจำหน่าย จำนวน 103 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินการรู้คิด มีค่าความจำเพาะ 76.09% และค่าความไว 87.32% เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 78.60 2) ผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่อายุเพิ่มขึ้น 1 ปี มีโอกาสที่จะเกิดภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยเพิ่มขึ้น คิดเป็น 1.261 เท่า (AOR = 1.261, 95% CI = 1.111–1.432, p < .001) และ 3) ผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีค่าความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40% มีโอกาสที่จะเกิดภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยเพิ่มขึ้น คิดเป็น 13.651 เท่า เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีค่าความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายมากกว่า 40% (AOR = 13.651, 95% CI = 3.241–57.509, p < .001)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางการแพทย์ควรประเมินภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม
References
ชัชวาล รัตนบรรณกิจ. (2557). Mild cognitive impairment: ความผิดปกติในการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับประชาชน. ใน รุ่งโรจน์ พิทยศิริ, ธีรธร พูลเกษ, กนกวรรณ บุญญพิสิฏฐ์, และสมบัติ มุ่งทวีพงษา (บ.ก.), ตำราประสาทวิทยาคลินิก Textbook of clinical neurology (น. 300–307). กรุงเทพฯ: สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย.
ดาราวรรณ รองเมือง, ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล, ผกามาศ พิมพ์ธารา, และยศพล เหลืองโสมนภา. (2564). ความชุกของภาวะสมองเสื่อม และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(1), 1–12.
ทัศนีย์ กาศทิพย์, สุปรีดา มั่นคง, และพรทิพย์ มาลาธรรม. (2562). ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะรู้คิดบกพร่อง. วารสารสภาการพยาบาล, 34(1), 104–121.
ปิยะภร ไพรสนธิ์, และพรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล, 32(1), 64–80.
Ampadu, J., & Morley, J. E. (2015). Heart failure and cognitive dysfunction. International Journal of Cardiology, 178, 12–23. doi:10.1016/j.ijcard.2014.10.087
Cannon, J. A., Moffitt, P., Perez-Moreno, A. C., Walters, M. R., Broomfield, N. M., McMurray, J. J. V., & Quinn, T. J. (2017). Cognitive impairment and heart failure: Systematic review and meta-analysis. Journal of Cardiac Failure, 23(6), 464–475. doi:10.1016/j.cardfail.2017.04.007
Chan, W. X., Lin, W., & Wong, R. C. C. (2016). Transitional care to reduce heart failure readmission rates in South East Asia. Cardiac Failure Review, 2(2), 85–89. doi:10.15420/cfr.2016:9:2
Dardiotis, E., Giamouzis, G., Mastrogiannis, D., Vogiatzi, C., Skoularigis, J., Triposkiadis, F., & Hadjigeorgiou, G. M. (2012). Cognitive impairment in heart failure. Cardiology Research and Practice, 2012, 1–9. doi:10.1155/2012/595821
Dodson, J. A., Truong, T. T. N., Towle, V. R., Kerins, G., & Chaudhry, S. I. (2013). Cognitive impairment in older adults with heart failure: Prevalence, documentation, and impact on outcomes. The American Journal of Medicine, 126(2), 120–126. doi:10.1016/j.amjmed.2012.05.029
Dujardin, K., Duhem, S., Guerouaou, N., Djelad, S., Drumez, E., Duhamel, A., … Deplanque, D. (2021). Validation in French of the Montreal Cognitive Assessment 5-Minute, a brief cognitive screening test for phone administration. Revue Neurologique, 177(8), 972–979. doi:10.1016/j.neurol.2020.09.002
Eshkoor, S. A., Hamid, T. A., Mun, C. Y., & Ng, C. K. (2015). Mild cognitive impairment and its management in older people. Clinical Interventions in Aging, 10, 687–693. doi:10.2147/CIA.S73922
Furqatovich, U. S. (2022). Cognitive impairement under the heart failure. International Journal of Philosophical Studies and Social Sciences, 2(2), 167–171. Retrieved from http://ijpsss.iscience.uz/index.php/ijpsss/article/view/198
Goh, F. Q., Kong, W. K. F., Wong, R. C. C., Chong, Y. F., Chew, N. W. S., Yeo, T. C., … Sia, C. H. (2022). Cognitive impairment in heart failure–A review. Biology, 11(2), 179. doi:10.3390/biology11020179
Leto, L., & Feola, M. (2014). Cognitive impairment in heart failure patients. Journal of Geriatric Cardiology, 11(4), 316–328. doi:10.11909/j.issn.1671-5411.2014.04.007
Li, J.-Q., Tan, L., Wang, H.-F., Tan, M.-S., Tan, L., Xu, W., ... Yu, J.-T. (2016). Risk factors for predicting progression from mild cognitive impairment to Alzheimer’s disease: A systematic review and meta-analysis of cohort studies. Journal of Neurology, Neurosurgery, & Psychiatry, 87(5), 476–484. doi:10.1136/jnnp-2014-310095
Liori, S., Arfaras-Melainis, A., Bistola, V., Polyzogopoulou, E., & Parissis, J. (2022). Cognitive impairment in heart failure: Clinical implications, tools of assessment, and therapeutic considerations. Heart Failure Reviews, 27(4), 993–999. doi:10.1007/s10741-021-10118-5
Overall, J. E., Tonidandel, S., & Starbuck, R. R. (2006). Rule-of-thumb adjustment of sample sizes to accommodate dropouts in a two-stage analysis of repeated measurements. International Journal of Methods in Psychiatric Research, 15(1), 1–11. doi:10.1002/mpr.23
Sterling, M. R., Jannat-Khah, D., Bryan, J., Banerjee, S., McClure, L. A., Wadley, V. G., … Safford, M. M. (2019). The prevalence of cognitive impairment among adults with incident heart failure: The “Reasons for Geographic and Racial Differences in Stroke” (REGARDS) study. Journal of Cardiac Failure, 25(2), 130–136. doi:10.1016/j.cardfail.2018.12.006
Vellone, E., Chialà, O., Boyne, J., Klompstra, L., Evangelista, L. S., Back, M., … Jaarsma, T. (2020). Cognitive impairment in patients with heart failure: An international study. ESC Heart Failure, 7(1), 46–53. doi:10.1002/ehf2.12542
Wolters, F. J., Segufa, R. A., Darweesh, S. K. L., Bos, D., Ikram, M. A., Sabayan, B., … Sedaghat, S. (2018). Coronary heart disease, heart failure, and the risk of dementia: A systematic review and meta-analysis. Alzheimer’s & Dementia, 14(11), 1493–1504. doi:10.1016/j.jalz.2018.01.007
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน