ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

ผู้แต่ง

  • วนิดา แสงเขียว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรจนี จินตนาวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พนิดา จันทโสภีพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การจัดการตนเอง, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ที่มารับบริการที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบางสะพาน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง ในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมจำนวน 82 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .82 และแบบวัดการจัดการตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .99 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม และคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองโดยรวม ในระดับปานกลาง (M = 35.78, SD = 4.39 และ M = 71.43, SD = 6.36 ตามลำดับ) และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .393, p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพควรประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น

References

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, และนุชนาฏ สุทธิ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(3), 280–295.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, และสำลี สาลีกุล. (2562). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการกับการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 31–39.

กลุ่มรายงานมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์, และทศพร คำผลศิริ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 47(2), 251–261.

ณัฐธิดา จงรักษ์, และนัฎฐิกา นวพันธุ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่ว่างสาธารณะกับรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา สวนสาธารณะในพื้นที่เมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 12(1), 27–39.

เบญจมาศ ถาดแสง, ดวงฤดี ลาศุขะ, และทศพร คำผลศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 39(4), 124–137.

พนิดา จันทร์ดีแก้วสกุล, นันทิยา วัฒายุ, และนันทวัน สุวรรณรูป. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลศาสตร์, 36(1), 31–43.

พิษณุรักษ์ กันทวี, และสถิรกร พงศ์พานิช. (2562). ความแตกฉานทางสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 73–83.

รัตนพงศ์ คำเผ่า, และน้ำเงิน จันทรมณี. (2561). การศึกษาทักษะการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 4 (น. 12–22). กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. สืบค้นจาก http://www.dra.up.ac.th/front/files/pgrc/Proceeding_PGRC4_2561.pdf

ราตรี อร่ามศิลป์, พัทธยา เกิดกุล, สายใจ จารุจิตร, และวรรณศิริ ประจันโน. (2561). พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 68–77.

วิชัย เอกพลากร. (บ.ก.). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สาวิตรี วิษณุโยธิน, ฉวีวรรณ บุญสุยา, สำลี เปลี่ยนบางช้าง, รัตนา สำโรงทอง, และเสาวนีย์ ทองนพคุณ. (2562). ความแตกฉานทางสุขภาพและพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ในระดับบริการปฐมภูมิของชุมชนเขตเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 17(1), 1–13.

สุมาพร สุจำนงค์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 20–30.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, และนุสรา ประเสริฐศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43–54.

อามานี แดมะยุ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, และพนิดา จันทโสภีพันธ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 35(3), 87–107.

Amarya, S., Singh, K., & Sabharwal, M. (2018). Ageing process and physiological changes. Retrieved from file:///C:/Users/Admin/Downloads/Ageing_Process_and_Physiological_Changes.pdf

Ansari, H., Almasi, Z., Ansari-Moghaddam, A., Mohammadi, M., Peyvand, M., Hajmohammadi, M., & Bagheri, F. (2016). Health literacy in older adults and its related factors: A cross-sectional study in Southeast Iran. Health Scope, 5(4), e37453. doi:10.17795/jhealthscope-37453

Benjamin, E. J., Virani, S. S., Callaway, C. W., Chamberlain, A. M., Chang, A. R., Cheng, S., … Muntner, P. (2018). Heart disease and stroke statistics – 2018 update: A report from the American Heart Association. Circulation, 137(12), e67–e492. doi:10.1161/CIR.0000000000000558

Buford, T. W. (2016). Hypertension and aging. Ageing Research Reviews, 26, 96–111. doi:10.1016/J.ARR.2016.01.007

Campbell, A. P. (2017). DASH eating plan: An eating pattern for diabetes management. Diabetes Spectrum, 30(2), 76–81. doi:10.2337/ds16-0084

Chajaee, F., Pirzadeh, A., Hasanzadeh, A., & Mostafavi, F. (2018). Relationship between health literacy and knowledge among patients with hypertension in Isfahan province, Iran. Electronic Physician, 10(3), 6470–6477. doi:10.19082/6470

Ding, W., Li, T., Su, Q., Yuan, M., & Lin, A. (2018). Integrating factors associated with hypertensive patients’ self-management using structural equation modeling: A cross-sectional study in Guangdong, China. Patient Preference and Adherence, 12, 2169–2178. doi:10.2147/PPA.S180314

Flynn, S. J., Ameling, J. M., Hill-Briggs, F., Wolff, J. L., Bone, L. R., Levine, D. M., … Boulware, L. E. (2013). Facilitators and barriers to hypertension self-management in urban African Americans: Perspectives of patients and family members. Patient Preference and Adherence, 7, 741–749. doi:10.2147/PPA.S46517

Ishikawa, H., Takeuchi, T., & Yano, E. (2008). Measuring functional, communicative, and critical health literacy among diabetic patients. Diabetes Care, 31(5), 874–879. doi:10.2337/dc07-1932

James, P. A., Oparil, S., Carter, B. L., Cushman, W. C., Dennison-Himmelfarb, C., Handler, J., … Ortiz, E. (2014). 2014 evidence-based guideline for the management of high blood pressure in adults: Report from the panel members appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8). JAMA, 311(5), 507–520. doi:10.1001/jama.2013.284427

Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003). Self-management education: History, definition, outcome, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1–7. doi:10.1207/S15324796ABM2601_01

Mensah, G. A. (2016). Hypertension and target organ damage: Don’t believe everything you think!. Ethnicity & Disease, 26(3), 275–278. doi:10.18865/ed.26.3.275

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267. doi:10.1093/heapro/15.3.259

World Health Organization. (2013). World health statistics 2013. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789241564588

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

แสงเขียว ว., จินตนาวัฒน์ โ., & จันทโสภีพันธ์ พ. (2023). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 34(1), 17–29. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/261328

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)

หมวดหมู่