ความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแลในกิจกรรมการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ตามการรับรู้ของครูคลินิกและนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สุภาพักตร์ หาญกล้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • วรนุช ไชยวาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • นงนุช บุญมาลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • อัญชลี อ้วนแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความสามารถปฏิบัติการโดยไม่ต้องกำกับดูแล, การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์, ครูคลินิก, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระดับความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแลในกิจกรรมการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ และความแตกต่างของสัดส่วนระดับความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแล ตามการรับรู้ของครูคลินิกและนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูคลินิก จำนวน 27 คน และนักศึกษาพยาบาล จำนวน 30 คน ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแลในกิจกรรมการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น .98 เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และ Chi-square test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูคลินิกรับรู้ระดับความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแลในกิจกรรมการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 5 โดยระดับ 3 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.56 รองลงมา คือ ระดับ 4 คิดเป็นร้อยละ 40.62 ส่วนนักศึกษาพยาบาลรับรู้ระดับความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแล ระดับ 4 ถึงระดับ 5 โดยระดับ 5 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.10 และ 2) สัดส่วนระดับความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแล ตามการรับรู้ของครูคลินิกและนักศึกษาพยาบาล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 49.269, p < .001, 95% CI = .317–.562)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ครูคลินิกควรสะท้อนผลการฝึกปฏิบัติการพยาบาลให้นักศึกษาได้รับรู้เป็นระยะ และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมิน เพื่อให้ผลการประเมินมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ

References

จันทิมา ช่วยชุม, อรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง, ยุพิน หมื่นทิพย์, นันท์ณภัส สารมาศ, และมนันชญา จิตตรัตน์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตระหว่างการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 293–308.

ธารีวรรณ ไชยบุญเรือง, และสุสัณหา ยิ้มแย้ม. (2556). สมรรถนะในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรนานาชาติ. วารสารสภาการพยาบาล, 28(3), 55–67.

ประวีดา คำแดง. (2564). การสอนปฏิบัติในคลินิกตามความคาดหวังของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 27(1), 17–28.

ไพรินทร์ สุคนธ์ตระกูล, และปรานี ป้องเรือ. (2557). สมรรถนะการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนคลินิกสูติกรรม: ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินของนักศึกษาและการประเมินของอาจารย์. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(2), 259–270.

มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ข้อเสนอแนะการพัฒนาการจัดการศึกษาวิชาชีพสุขภาพเฉพาะประเด็นเพื่อปฏิรูปสถาบันการศึกษาและการเรียนการสอน. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.

สภาการพยาบาล. (2564). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต: หลักสูตรต้นแบบสภาการพยาบาล พ.ศ. 2564. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, วรนุช ไชยวาน, รวีวรรณ เผ่ากัณหา, อัญชลี อ้วนแก้ว, และณัฏฐากุล บึงมุม. (2565). แนวคิดความไว้วางใจให้ปฏิบัติทักษะวิชาชีพในการศึกษาการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 33(1), 264–274.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, ศรัญญา ต.เทียนประเสริฐ, ณัฏฐากุล บึงมุม, อัญชลี อ้วนแก้ว, และพวงผกา อินทร์เอี่ยม. (2564). การรับรู้ของอาจารย์พยาบาลต่อสมรรถนะวิชาชีพที่สามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องกำกับดูแลของบัณฑิตพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 48(2), 54–65.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, ศรัญญา ต.เทียนประเสริฐ, และบุศรา กาญจนบัตร. (2563). สมรรถนะวิชาชีพด้านทักษะพิสัยของพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาใหม่. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 69–77.

สุพรรณี กัณหดิลก, ตรีชฎา ปุ่นสำเริง, และชุติมา มาลัย. (2560). กลยุทธ์การสอนด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(4), 34–41.

Al-Moteri, M. (2020). Entrustable professional activities in nursing: A concept analysis. International Journal of Nursing Sciences, 7(3), 277–284. doi:10.1016/j.ijnss.2020.06.009

Englander, R., Flynn, T., Call, S., Carraccio, C., Cleary, L., Fulton, T. B., … Aschenbrener, C. A. (2016). Toward defining the foundation of the MD degree: Core entrustable professional activities for entering residency. Academic Medicine, 91(10), 1352–1358. doi:10.1097/ACM.0000000000001204

Giddens, J. F., Lauzon Clabo, L., Morton, P. G., Jeffries, P., McQuade-Jones, B., & Ryan, S. (2014). Re-envisioning clinical education for nurse practitioner programs: Themes from a national leaders’ dialogue. Journal of Professional Nursing, 30(3), 273–278. doi:10.1016/j.profnurs.2014.03.002

Lundberg, K. M. (2008). Promoting self-confidence in clinical nursing students. Nurse Educator, 33(2), 86–89. doi:10.1097/01.NNE.0000299512.78270.d0

Pittenger, A. L., Chapman, S. A., Frail, C. K., Moon, J. Y., Undeberg, M. R., & Orzoff, J. H. (2016). Entrustable professional activities for pharmacy practice. American Journal of Pharmaceutical Education, 80(4), 57. doi:10.5688/ajpe80457

Plakht, Y., Shiyovich, A., Nusbaum, L., & Raizer, H. (2013). The association of positive and negative feedback with clinical performance, self-evaluation and practice contribution of nursing students. Nurse Education Today, 33(10), 1264–1268. doi:10.1016/j.nedt.2012.07.017

Ross, J. A. (2006). The reliability, validity, and utility of self-assessment. Practical Assessment, Research, and Evaluation, 11(10), 1–13. doi:10.7275/9wph-vv65

Surjadi, M., Stringari-Murray, S., & Saxe, J. M. (2019). Entrustable professional activities in nurse practitioner education. The Journal for Nurse Practitioners, 15(5), 97–102. doi:10.1016/j.nurpra.2018.12.030

Ten Cate, O. (2014). AM last page: What entrustable professional activities add to a competency-based curriculum. Academic Medicine, 89(4), 691. doi:10.1097/ACM.0000000000000161

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

อนุสรณ์ธีรกุล ส., หาญกล้า ส., ไชยวาน ว., บุญมาลา น., & อ้วนแก้ว อ. (2023). ความสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้โดยไม่ต้องกำกับดูแลในกิจกรรมการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ตามการรับรู้ของครูคลินิกและนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 34(1), 30–42. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/260935