ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • ชนาภา สมใจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรจนี จินตนาวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พนิดา จันทโสภีพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การจัดการตนเอง, ผู้สูงอายุไทยทรงดำ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 82 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง มีค่าความเชื่อมั่น .83 และแบบวัดการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูง มีค่าความเชื่อมั่น .88 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม และคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองโดยรวม ในระดับปานกลาง (M = 34.84, SD = 4.85 และ M = 75.26, SD = 8.95 ตามลำดับ) และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .432, p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพควรมีการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูง เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูงมีการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ดียิ่งขึ้น

References

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, และนุชนาฏ สุทธิ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(3), 280–295.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, และสำลี สาลีกุล. (2562). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการกับการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 31–39.

กานต์ทิตา สีหมากสุก, และบุญรอด บุญเกิด. (2559). วิเคราะห์ปัจจัยการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในพิธีกรรมของไทยทรงดำ: กรณีศึกษาเขตตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(44), 83–102.

จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์, และทศพร คำผลศิริ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 47(2), 251–261.

ณรงค์ อาจสมิติ. (2555). รัฐชาติ ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ไทดำ. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 31(2), 53–78.

เบญจมาศ ถาดแสง, ดวงฤดี ลาศุขะ, และทศพร คำผลศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 39(4), 124–137.

พนิดา จันทร์ดีแก้วสกุล, นันทิยา วัฒายุ, และนันทวัน สุวรรณรูป. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลศาสตร์, 36(1), 31–43.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2560. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1552463947-147_0.pdf

รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, และเรวดี สุวรรณนพเก้า. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

รัตนพงศ์ คำเผ่า, และน้ำเงิน จันทรมณี. (2561). การศึกษาทักษะการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 4 (น. 12–22). ม.ป.ท. สืบค้นจาก http://www.dra.up.ac.th/front/files/pgrc/Proceeding_PGRC4_2561.pdf

รัตนะ บัวสนธ์, จุรีรัตน์ ประวาลลัญฉกร, รพีพร ศรีติมงคล, วันดี ทับทิม, และมลฤดี โภคศิริ. (2555). วิถีชีวิตด้านสุขภาพไทยทรงดำจากวันวานสู่ยุคสุขภาพพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1), 15–34.

ราตรี อร่ามศิลป์, พัทธยา เกิดกุล, สายใจ จารุจิตร, และวรรณศิริ ประจันโน. (2561). พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 68–77.

วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรุติ โพธิ์ไทร. (2555). โลกทัศน์ลาวโซ่งในบริบทใหม่: ที่ว่างที่แปรเปลี่ยน ประเพณีที่เลือนหาย. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย, 8, 259–275.

สุมาพร สุจำนงค์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 20–30.

อภิชาต ภัทรธรรม. (2559). ไทดำ-ไทยทรงดำ-ลาวโซ่ง. วารสารการจัดการป่าไม้, 10(20), 89–94.

อะเคื้อ กุลประสูติดิลก, และปุณยภา พลวัน. (2561). องค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 6(1), 106–130.

อามานี แดมะยุ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, และพนิดา จันทโสภีพันธ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 35(3), 87–107.

Amini, R., Daddost, R. A., Khodavisi, M., & Tapak, L. (2018). Correlation between health literacy and self-management in patients with hypertension, Province of Hamadan, Iran. Journal of Biochemical Technology, 9(2), 134–141. Retrieved from https://jbiochemtech.com/article/correlation-between-health-literacy-and-self-management-in-patients-with-hypertension-province-of-hamadan-iran

Ansari, H., Almasi, Z., Ansari-Moghaddam, A., Mohammadi, M., Peyvand, M., Hajmohammadi, M., & Bagheri, F. (2016). Health literacy in older adults and its related factors: A cross-sectional study in southeast Iran. Health Scope, 5(4), 110–125. doi:10.17795/jhealthscope-37453

Chesser, A. K., Woods, N. K., Smothers, K., & Rogers, N. (2016). Health literacy and older adults: A systematic review. Gerontology & Geriatric Medicine, 2, 1–13. doi:10.1177/2333721416630492

Davis, L. L. (2019). Hypertension: How low to go when treating older adults. The Journal for Nurse Practitioners, 15(1), 1–6. doi:10.1016/j.nurpra.2018.10.010

Ding, W., Li, T., Su., Q., Yuan, M., & Lin, A. (2018). Integrating factors associated with hypertensive patients’ self-management using structural equation modeling: A cross-sectional study in Guangdong, China. Patient Preference and Adherence, 12, 2169–2178. doi:10.2147/PPA.S180314

Flynn, S. J., Ameling, J. M., Hill-Briggs, F., Wolff, J. L., Bone, L. R., Levine, D. M., … & Boulware, L. E. (2013). Facilitators and barriers to hypertension self-management in urban African Americans: Perspectives of patients and family members. Patient Preference and Adherence, 7, 741–749. doi:10.2147/PPA.S46517

Geboers, B., de Winter, A. F., Spoorenberg, S. L., Wynia, K., & Reijneveld, S. A. (2016). The association between health literacy and self-management abilities in adults aged 75 and older, and its moderators. Quality of Life Research, 25(11), 2869–2877. doi:10.1007/s11136-016-1298-2

Ishikawa, H., Takeuchi, T., & Yano, E. (2008). Measuring functional, communicative, and critical health literacy among diabetic patients. Diabetes Care, 31(5), 874–879. doi:10.2337/dc07-1932

Kai, H., Kudo, H., Takayama, N., Yasuoka, S., Aoki, Y., & Imaizumi, T. (2014). Molecular mechanism of aggravation of hypertensive organ damages by short-term blood pressure variability. Current Hypertension Reviews, 10(3), 125–133. doi:10.2174/1573402111666141217112655

Liu, Y. B., Chen, Y. L., Xue, H. P., & Hou, P. (2019). Health literacy risk in older adults with and without mild cognitive impairment. Nursing Research, 68(6), 433–438. doi:10.1097/NNR.0000000000000389

Lorig, K. R., & Holman, H. (2003). Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1–7. doi:10.1207/S15324796ABM2601_01

Mensah, G. A. (2016). Hypertension and target organ damage: Don’t believe everything you think!. Ethnicity & Disease, 26(3), 275–278. doi:10.18865/ed.26.3.275

Moss, K. O., Still, C. H., Jones, L. M., Blackshire, G., & Wright, K. D. (2019). Hypertension self-management perspectives from African American older adults. Western Journal of Nursing Research, 41(5), 667–684. doi:10.1177/0193945918780331

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267. doi:10.1093/heapro/15.3.259

Truong, P. V., Jullamate, P., & Piphatvanitcha, N. (2016). Factors related to self-management behaviours in hypertensive older adults in Haiduong Province, Vietnam. Journal of Nursing and Health Sciences, 10(3), 56–64. Retrieved from https://nurse.buu.ac.th/rsh/file/journal/0000000648.pdf

World Health Organization. (2013). Health services–statistics. World health statistics 2013. Retrieved from https://www.who.int/gho/publications/world_health_statistics/EN_WHS2013_Full.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15

How to Cite

สมใจ ช., จินตนาวัฒน์ โ., & จันทโสภีพันธ์ พ. (2022). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยทรงดำโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 33(1), 153–166. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/255249

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)