ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง เขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ดวงธิดา โสดาพรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวาน ที่ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษาในศูนย์สุขภาพชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก รวมจำนวน 313 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปัจจัยส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่น .71 แบบสัมภาษณ์ปัจจัยการรับรู้ของบุคคล มีค่าความเชื่อมั่น .74 แบบสัมภาษณ์ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น .93 และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่น .73 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมในระดับมาก (M = 3.29, SD = .19) แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนบ้าน การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และการมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้ร้อยละ 11.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .112, p < .05)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารสถานบริการสุขภาพควรสนับสนุนให้บุคลากรสาธารณสุขมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองให้ถูกต้องและเหมาะสม

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/coverpage/3a249d4706a9fec3b651595d3a507cd4.pdf

ขวัญฤทัย พันธุ, และจันทร์ฉาย มณีวงษ์. (2559). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในภาคกลาง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 22(1), 93–107.

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ์, จารีศรี กุลศิริปัญโญ, อรุณ นุรักษ์เข, และกิตติศักดิ์ หลวงพันเทา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43–44), 55–69.

บุษราคัม อินเต็ง, และสุพัฒนา คำสอน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเก่า จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 122–134.

ปวิตรา จริยสกุลวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พยาม การดี, พรรณพิมล สุขวงษ์, และดาว เวียงคำ. (2559). การรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบทภาคเหนือตอนบน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 24(1), 40–51.

พรรณิภา ภูกองพลอย. (2561). การพัฒนาวิธีการประมาณค่าข้อมูลสูญหายสำหรับการวัดซ้ำ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุทธนา ชนะพันธ์, และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(2), 109–119.

วาสนา เหมือนมี, สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, ชมนาด วรรณพรศิริ, และทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(2), 156–165.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). อัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง. สืบค้นจาก http://dmhc.dmh.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

สถาบันประสาทวิทยา. (2559). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2557). การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: อาร์ต ควอลิไฟท์.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: ฮั่วน้ำพริ้นติ้ง.

สายฝน เติบสูงเนิน, และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2560). ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(5), 482–490.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2559). รายงานประจำปี 2559. สืบค้นจาก http://www.plkhealth.go.th/uploads/documents/รายงานประจำปี%202559.pdf

สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. (2559). กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs). พิษณุโลก: ผู้แต่ง.

สุทัสสา ทิจะยัง. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Maiman, L. A., & Becker, M. H. (1974). The health belief model: Origins and correlates in psychological theory. Health Education Monographs, 2(4), 336–353. Retrieved from http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.856.1372&rep=rep1&type=pdf

Ngamjarus, C., & Chongsuvivatwong, V. (2016). n4Studies: Sample size calculation for an epidemiological study on a smart device. Siriraj Medical Journal, 68(3), 160–170. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sirirajmedj/article/view/58342/48170

World Health Organization. (2017). Cerebrovascular diseases. Retrieved from http://www.who.int/topics/cerebrovascular_accident/en/

World Stroke Organization. (2017). Face the facts: Stroke is treatable. Retrieved from https://www.worldstrokecampaign.org/learn.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

How to Cite

โสดาพรม ด., & วนรัตน์วิจิตร ศ. (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง เขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 32(2), 98–111. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/250376

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)