ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • นิศารัตน์ ศรีไซร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่อาศัยในตำบลตาเนิน อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 67 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 34 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง แบบบันทึกการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้การสร้างเสริมสุขภาพ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .74 การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .72 และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .72 และ แบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .86 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และ 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงไปประยุกต์ใช้ในการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

References

ปิยวรรณ ศรีสุวนันท์. (2560). ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเพนเดอร์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 3(2), 105–118.

พรพิมล อุลิตผล. (2558). การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถในตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 441–452.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2561). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT, CVD). Retrieved from https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์หารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สิริชยา อังกูรขจร, และสุนิดา ปรีชาวงษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิดของเพนเดอร์ต่อความร่วมมือในการรับประทานอาหารและยาของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 25(2), 77–89.

สุภัทรา ระวิระ. (2560). การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพครอบครัวที่มีบุคคลเสี่ยงความดันโลหิตสูง ในตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2550). ชีวสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (5th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

World Health Organization. (2017). WHO/ISH Hypertension guideline. Retrieved from http://www.who.int/cardiovascular diseases/publications/global_brief_hypertentsion/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

ศรีไซร์ น., & ปิยะบัณฑิตกุล ล. (2021). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 32(1), 109–122. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/249502

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)