ผลของโปรแกรมการจัดการกับความโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การจัดการกับความโกรธ, พฤติกรรมก้าวร้าว, ผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับความโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย จิตเภทสูงอายุที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนปรุง จำนวน 18 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 9 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการกับความโกรธ แบบประเมินอาการทางจิตผู้ป่วยโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่น .81 แบบประเมินพุทธิปัญญา แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว มีค่าความเชื่อมั่น .80 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Fisher’s exact test, Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.719, p < .01) และ 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.289, p < .01)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพจิตควรนำโปรแกรมการจัดการกับความโกรธไปประยุกต์ใช้ในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ
References
กรมสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
กรมสุขภาพจิต. (2561). สถิติผู้ป่วยโรคจิตเภท ปี พ.ศ. 2561. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
ทศพล อะกะเรือน. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการกับความโกรธในผู้ป่วยจิตเภทที่ติดบุหรี่ โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/39403?mode=full
ธนา นิลชัยโกวิท, สเปญ อุ่นอนงค์, ดารเณศ เกษไสว, และปราการ ถมยางกูร. (2543). เครื่องมือวัดกลุ่มอาการบวกและลบของโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย (PANSS-T): การตรวจสอบความแม่นตรงและความน่าเชื่อถือ. จดหมายเหตุทางการแพทย์ฯ, 83(6), 646–651.
บุษยา ศรีวรรณ์. (2552). การศึกษาการใช้โปรแกรมการจัดการกับความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พยุงศักดิ์ ฝางแก้ว, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2562). ผลของการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 53–69.
พัชรนันท์ ชัยชาญทิพยุทธ. (2559). สภาพจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อสูงวัยขึ้น. สืบค้นจาก https://medium.com/.../สภาพจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อสูงวัยขึ้น-dd5714acc1c
พิเชฐ อุดมรัตน์, และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (บ.ก.). (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ. (2560). การพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. เชียงใหม่: สมาร์ท โคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส.
มณฑาทิพย์ ชัยเปรม. (2556). รายงานเบื้องต้น: พฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเวชและการจัดการของบุคลากรทางการพยาบาล. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 21(1), 57–65. สืบค้นจาก file:///C:/Users/Asus/Desktop/10146-ไฟล์บทความ-129416-1-10-20160428.pdf
โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. (2561). สถิติรายงานอุบัติการณ์ กลุ่มโรคจิตเภท ปี พ.ศ. 2561. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. (2562). สถิติผู้ป่วยใน โรคจิตเภท ปี พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
สมบัติ ประทักษ์กุลวงศา. (2553). โปรแกรมการควบคุมความโกรธสำหรับผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 18(2), 105–112.
สมภพ เรืองตระกูล. (2553). ตำราจิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรคทางจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
หทัยรัตน์ ดิษฐอั๊ง. (2550). การสอนการจัดการกับความโกรธเพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2556). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
อัครเดช กลิ่นพิบูลย์. (2556). การจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าว. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/520965
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Hemrungrojn, S. (2007). The Montreal Cognitive Assessment, MoCA Thai version 15 March 2007. Retrieved from www.http://mocatest.org
Novaco, R. W. (1975). Anger control: The development and evaluation of an experimental treatment. Lexington, MA: Lexington Book. Retrieved from http://www.commonlanguagepsychotherapy.org/fileadmin/user_upload/Accepted_procedures/anger.pdf
World Health Organization. (2016). Schizophrenia. Retrieved from http://www.who.int/mental_health/management/schizophrenia/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน